Page 37 - JRISS VOL2 NO4 October-December 2018
P. 37

32  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.2 No.4 October-December 2018

             ดี โดยรูปแบบการสอนแบบซิปปาโมเดลมีขั้นตอนอยู 7 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการทบทวนความรู
             เดิม 2) ขั้นการแสวงหาความรูใหม 3) ขั้นการศึกษาทําความเขาใจขอมูล 4) ขั้นการ

             แลกเปลี่ยนความรูความเขาใจกับกลุม 5) ขั้นการสรุปและจัดระเบียบความรู 6) ขั้นการ
             แสดงผล 7) ขั้นการประยุกตใชความรู ซึ่งขั้นตอนในการจัดการเรียนรูเหลานี้เปนการจัด
             กิจกรรมการเรียนรูที่จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมใหสอดคลองกับความสนใจและความถนัด
             ของผูเรียน ฝกทักษะและกระบวนการคิด สภาพแวดลอมและสื่อการเรียน เพื่อใหผูเรียนเกิด
             การเรียนรูและมีความรอบรูไดเรียนรูจากประสบการณจริงและเกิดการใฝเรียนรูอยางตอเนื่อง

                      การจัดกิจกรรมการเรียนรูในหองเรียนของโรงเรียนในสังกัดสํานักการศึกษา เทศบาล
             เมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พบวา ปญหาครูผูสอนวิชาวิทยาศาสตรสวนใหญยังยึดการ
             สอนเนื้อหามากกวากระบวนการคิดและขาดเทคนิคในการจัดกิจกรรมการเรียนรูที่เหมาะสม

             ทําใหผูเรียนขาดความสนใจไมมีความกระตือรือรน การจัดกิจกรรมของครูไมหลากหลาย ทํา
             ใหเกิดความเบื่อหนาย ขาดทักษะการคิด การทํางานรวมกัน ผูเรียนมีปฏิสัมพันธในกลุม
             คอนขางนอยขาดการรวมมือกันในการทํางานกลุม จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับการ
             จัดการเรียนรูแบบซิปปาโมเดล ชวยใหมีพัฒนาการทางดานรางกาย อารมณ สังคมและ

             สติปญญา ไดลงมือปฏิบัติจริงและมีสวนรวมที่ดีระหวางเพื่อนและครูผูสอน สงผลใหผูเรียนมี
             ผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นและสามารถนําไปใชในวิชาวิทยาศาสตรได ดังนั้นเพื่อเปนการแกปญหาใน
             การจัดกิจกรรมการเรียนรูวิทยาศาสตรของโรงเรียน ดังที่กลาวมาแลวเบื้องตน ผูวิจัยเห็นวา
             รูปแบบการจัดการเรียนรูโดยใชกระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดลมีความเหมาะสมอยางยิ่งที่

             จะนํามาใชแกปญหาการจัดการเรียนรูดังที่กลาวขางตนและพัฒนากิจกรรมจัดการเรียนรูวิชา
             วิทยาศาสตรใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

             วัตถุประสงคของการวิจัย

                     1. เพื่อศึกษาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรูวิทยาศาสตร เรื่อง ชีวิตพืช โดยใช
             กระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดล สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 2 ใหมีประสิทธิภาพ
             ตามเกณฑ 85/85
                     2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูวิทยาศาสตร เรื่อง ชีวิตพืช กอนและ

             หลังทําการเรียนรูดวยกิจกรรมการเรียนรูวิทยาศาสตร โดยใชกระบวนการสอนแบบซิปปา
             โมเดล สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปที่ 2
                     3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรูวิทยาศาสตร เรื่อง ชีวิตพืช
             โดยใชกระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดล สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 2
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42