Page 11 - JRISS VOL2 NO4 October-December 2018
P. 11

6  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.2 No.4 October-December 2018

             การศึกษาเปนภาคการศึกษาที่ 1 (เดือนเมษายน-เดือนกันยายน) และภาคการศึกษาที่ 2
             (เดือนกันยายน-เดือนมีนาคม) โดยระยะเวลาการรับสมัครโดยทั่วไปจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน

             หรือเดือนตุลาคมสําหรับการสมัครเรียนในเดือนเมษายนของปถัดไป
                       ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศญี่ปุน สถาบันการศึกษา
             ระดับอุดมศึกษาของญี่ปุนในปจจุบัน มีประมาณ 800 แหง แบงเปน
                       1) ระดับอนุปริญญา (หลักสูตร 2 ป) เมื่อจบแลวสอบเขาเรียนปริญญาตรีโดย
             เทียบหนวยกิต

                       2) หลักสูตรปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ป) ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร วิศวกรรมศาสตร
             บริหารธุรกิจ นิติศาสตร บัญชี เปนคณะที่ไดรับความนิยม
                       3) หลักสูตรปริญญาโท (หลักสูตร 2 ป)

                       4) หลักสูตรปริญญาเอก (หลักสูตร 3 ป) หลักสูตรปกติจะใชเวลา 3 ป ภายใน
             เวลาที่กําหนด ตองสงวิทยานิพนธและสอบผาน แตถาไมไดเรียนตามหลักสูตรปกติ สามารถสง
             แควิทยานิพนธและถาสอบผาน ก็จะไดคุณวุฒิจบปริญญาเอกเหมือนกัน (โดยไมกําหนดป) ซึ่ง
             ในกรณีนี้ เนื่องจากวานักศึกษาที่ไดผานประสบการณการทํางานและมีผลงานวิจัยมามาก

             พอสมควร คุณภาพและระดับของเนื้อหาในวิทยานิพนธคอนขางจะสูงมาก ระบบการสง
             วิทยานิพนธเพื่อขอรับคุณวุฒิจบปริญญาเอก โดยที่ไมตองเขาเรียนตามหลักสูตรปกติ ก็เปน
             ลักษณะเดนอันหนึ่งของระบบการศึกษาชั้นสูงของประเทศญี่ปุน
                       โครงสรางการบริหารการศึกษาของญี่ปุน มีการกระจายอํานาจการจัดการศึกษา

             ทั่วประเทศ แบงเปน 3 ระดับ ไดแก
                       1) รัฐบาลระดับชาติ (National Government) โดยสวนกลางหรือ
             กระทรวงศึกษาธิการมีหนาที่หลักในการดูแลสถาบันการศึกษาที่อยูภายใตองคกรระดับชาติ
             ไดแก มหาวิทยาลัยตาง ๆ และวิทยาลัยเทคโนโลยี

                       2) รัฐบาลระดับจังหวัด (Prefectural Government) มีทั้งหมด 47 จังหวัด แต
             ละจังหวัดมีการเลือกตั้งผูวาราชการจังหวัด บุคลากรในจังหวัดทั้งหมด รวมถึงครูถือวาเปน
             ขาราชการสังกัดสวนทองถิ่น อํานาจการแตงตั้ง ถอดถอน โยกยายหรือโอนเปนของจังหวัด ใน

             ดานการศึกษา จังหวัดเปนองคกรที่รับผิดชอบหลักสําหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
             โรงเรียนการศึกษาพิเศษและวิทยาลัยตาง ๆ มหาวิทยาลัยของจังหวัดและโรงเรียนเอกชนอยู
             ในความดูแลของผูวาราชการจังหวัด
                       3) รัฐบาลทองถิ่นระดับต่ํากวาจังหวัด (Municipal Government) ไดแก องคกร
             ระดับนคร (City) องคกรระดับเมือง (town) องคกรระดับหมูบาน (village) องคกรบริหารทั้ง

             3 ระดับเปนอิสระซึ่งกันและกัน มีการเลือกตั้งหัวหนาหนวยการปกครองทองถิ่นทุกระดับ แต
             ละองคกรมีหนาที่รับผิดชอบหลักในการดูแล โรงเรียนการศึกษาภาคบังคับ มหาวิทยาลัย
             ทองถิ่น (ปานเพชร ชินินทร และคณะ, 2552)
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16