Page 69 - JRISS-vol.1-no.3
P. 69

64  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

             จริงทุกครั้ง สอดคล้องกับ มุตตา คงคืน (2551, หน้า 23) ได้กล่าวว่า การบริหารสถานศึกษา
             ตามหลัก ความโปร่งใส คือ การสร้างความไว้วางใจ ความมั่น ใจ และความโปร่งใสในการ
             บริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในด้านงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหาร

             ทั่วไป และการบริหารงานวิชาการ โดยมีการทําหลักฐานเอกสารข้อมูล และเปิดเผยต่อ
             สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในสถานศึกษา ปรับปรุงกลไกการทํางานขององค์กรทุกส่วน
             ให้มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
                       2.4 ด้านหลักความมีส่วนร่วม ค่าดัชนีลําดับความสําคัญของความต้องการจําเป็น

             พบว่า โดยรวมมีค่าเท่ากับ .10 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือ โรงเรียนมีการนําความคิดเห็นของประชาชน
             ไปใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อแก้ปัญหาของนักเรียน รองลงมาคือ บุคลากรทุกคนมีการ
             แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของสถานศึกษาร่วมกับผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน

             เป็นอย่างดี สอดคล้องกับ อรทัย แสงทอง (2551, หน้า 4) ได้กล่าวว่า การมีส่วนร่วม คือ การ
             เปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงานและผู้รับบริการ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับ
             ผลกระทบจากการบริหารงานหรือการดําเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงาน ได้ร่วมรับรู้ ร่วมแสดง
             ความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ รวมทั้งร่วมสนับสนุนติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติตามสิ่งที่
             ตนเองได้ร่วมตัดสินใจ

                       2.5 ด้านหลักความรับผิดชอบ ค่าดัชนีลําดับความสําคัญของความต้องการจําเป็น
             พบว่า โดยรวมมีค่าเท่ากับ .09 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือ บุคลากรในโรงเรียนมีความไว้วางใจต่อการ
             ปฏิบัติงานของเพื่อนร่วมงานทุกคน รองลงมาคือ โรงเรียนมีการพัฒนาบุคลากร เพื่อสร้าง

             จิตสํานึกที่ดีในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับ มุตตา คงคืน (2551, หน้า 26) ได้กล่าวว่า การ
             บริหารสถานศึกษาตามหลักความรับผิดชอบ เป็นการสร้างความตระหนักใน สิทธิ หน้าที่
             ความสํานึก ในความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มี
             ส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถให้

             บรรลุผลสําเร็จ ใส่ใจต่ออุปสรรค ปัญหาและข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาโดยมีความ
             กระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา กล้าที่จะยอมรับผลดีผลเสียจากการตัดสินใจดําเนินการบางอย่าง
             ทั้งที่มาจากตนเองหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
                       2.6 ด้านหลักความคุ้มค่า ค่าดัชนีลําดับความสําคัญของความต้องการจําเป็น

             พบว่า โดยรวมมีค่าเท่ากับ .06 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือ โรงเรียนมีการนําเทคโนโลยีที่เหมาะสมมา
             ใช้เพื่อการลดค่าใช้จ่ายแต่มุ่งเน้นคุณภาพ และผลสําเร็จเป็นสําคัญ รองอันดับหนึ่งคือ ผู้บริหาร
             โรงเรียนมีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ
             โรงเรียนมีการส่งเสริมสนับสนุนให้นําวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่หรือดัดแปลงให้เกิดผลผลิตใหม่

             รองอันดับสองคือ โรงเรียนมีบัญชีควบคุมการใช้วัสดุและอุปกรณ์การศึกษาอย่างเป็นระบบ
             และโรงเรียนมีการบริหารทรัพยากรที่มีอย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับ
             ผลการวิจัยของ สถาบันพระปกเกล้า (2545 ; บทคัดย่อ) ได้ทําการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาดัชนี
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74