Page 74 - JRISS-vol.1-no.3
P. 74

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017   69

                        บทที่ 3 อธิบายเกี่ยวกับเกมการสื่อสาร เป็นเกมที่ไม่มีคู่ต่อสู้เหมือนเกมอื่น สิ่งที่จะ
                เอาชนะคือ “ความอึดอัด” ของผู้ร่วมสนทนา เป็นเกมที่จําเป็นต้องเล่น (เพราะถ้าไม่เล่น คือ
                ไม่พูดคุยกันแล้ว การสนทนาหรือการสื่อสารก็ไม่เกิดขึ้น) และวิธีเอาชนะคือ “การยืดหยุ่น”

                (คืออย่าเอาจริงเอาจัง เอาแพ้เอาชนะกัน)
                        บทที่ 4 นําเสนอเกี่ยวกับการเตรียมตัวลงสนาม (การสื่อสาร) ควรเข้าใจว่าการสื่อสาร
                ก็ต้องหวังผล คือ “ทําให้คู่สนทนารู้สึกดี และอยากสนทนาด้วย” จงอย่าใช้อคติ คือความเอน
                เอียงจากการไม่รู้ เป็นอุปสรรคในการสื่อสาร แต่ใช้เป็นจุดแสวงหาข้อมูลและความเข้าใจมาก

                ขึ้น เปลี่ยนจุดเน้นของการสื่อสารจากการถ่ายทอดเป็นการส่งต่อ คือส่งต่อข้อมูลสู่ผู้รับสาร
                (ส่วนจะเข้าใจอย่างไรก็แล้วแต่ผู้รับสาร) ใช้ปมด้อยเป็นปมเด่นแทน และคิดว่าการสื่อสารเป็น
                เดิมพันแบบหนึ่ง ถ้าชนะ (คือพูดคุยกันราบรื่น) ก็ดีแล้ว แต่ถ้าแพ้ (คือทําอย่างไรก็ยังสนทนา

                กันไม่ราบรื่น) ก็ไม่มีอะไรเสียหาย เพียงแต่ไม่ได้เพิ่มเท่านั้นเอง (ถ้าคิดได้แบบนี้ก็จะไม่กลัวที่
                จะสนทนากับคนอื่นอีกต่อไป)
                        บทที่ 5 ผู้เขียนใช้หัวข้อว่า “ความเงียบคือความสําเร็จ” โดยผู้เขียนกล่าวถึงการอ่าน
                บรรยากาศในการพูด และการสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างสนทนา และสุดท้ายกล่าวถึงว่า
                “บางครั้งความเงียบก็เป็นสิ่งที่ดี ไม่เสียหาย จงอย่าตกใจ ขอเพียงแต่บรรยากาศสนทนาไม่เสีย

                ก็พอ
                        บทที่ 6 กล่าวถึงเทคนิคการพูด เช่น คุยกันเรื่องที่คู่สนทนาสนใจ ตั้งคําถามให้คู่
                สนทนาได้พูดเยอะ สนใจคู่สนทนาอย่างใส่ใจ พยายามไม่ขัดแย้งกัน ชื่นชมคู่สนทนา ไม่ทําตัว

                เก่งกว่าคู่สนทนา ทึ่งคู่สนทนา และพูดคุยกันให้สนุกเข้าไว้ บทที่ 7 กล่าวถึงแนวทางในการ
                พัฒนาทักษะในการตั้งคําถาม บทที่ 8 กล่าวถึงกลยุทธ์อารมณ์ขัน และบทที่ 9 พฤติกรรมที่ผิด
                ในการพูดคุยกัน คือ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การโกหก ขัดคอ และโอ้อวด และ ใช้คํา
                ว่า “ไม่” บ่อยไป (คือลดพูดคําว่า “ไม่” ครับ)

                        ส่วนบทส่งท้าย ผู้เขียนได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเขียนหนังสือว่า เขียนแบบ
                พูดคุยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เหมือนกับผู้อ่านฟังรายการวิทยุที่ผู้เขียนจัดอยู่ ครับ


                ความเห็นและข้อเสนอแนะท้ายเรื่อง

                        ผู้ปริทัศน์ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า หนังสือเล่มนี้เป็นข้อแนะนําเกี่ยวกับการสื่อสารที่
                แปลกและแตกต่างไปจากตําราเกี่ยวกับการสื่อสารโดยทั่วไป ดังสาระที่นําเสนอไปแล้ว ซึ่ง
                กล่าวโดยสรุป คือ ผู้เขียนเน้นการสื่อสารแบบพูดคุยกัน หรือการสนทนา ซึ่งคนทั่วไปจะรู้สึกไม่
                ค่อยกล้าพูดกับคนอื่น โดยเฉพาะคนแปลกหน้า เพราะไม่รู้ว่าจะพูดอะไร หรือพูดไปแล้วเกรง

                ว่าคู่สนทนา หรือผู้อื่นจะเข้าใจว่าเราไม่รู้อะไร หรือไม่น่าสนใจ เป็นต้น แต่ผู้เขียนเสนอว่า
                “การสื่อสารในการสนทนากันนั้น ไม่มีแพ้ หรือชนะ แต่ทําอย่างไรจึงจะทําให้การสนทนา
                ดําเนินไปราบรื่น และรู้สึกดี” ความสําเร็จของการสนทนา คือทําให้คู่สนทนารู้สึกดี และ
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79