Page 67 - JRISS-vol.1-no.3
P. 67

62  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

             สอดคล้องกับพิชญาภา จันทศรี (2553, หน้า 120) ได้ศึกษาปัญหาและความต้องการในการ
             บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร สังกัดสถาบันการพลศึกษา ผลการศึกษาความ
             ต้องการในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในด้านหลักความโปร่งใส พบว่า มีการจัด

             ประชุมชี้แจงรายละเอียดงบประมาณต่าง ๆ ที่ได้รับให้บุคลากรทุกคนทราบ มีความต้องการ
             อยู่ในระดับมากกว่าข้ออื่น ๆ
                            1.2.4 ด้านหลักการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด
             คือ โรงเรียนมีการนําความคิดเห็นของประชาชนไปใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อแก้ปัญหาของ

             นักเรียน รองลงมาคือ โรงเรียนได้ให้ชุมชน ผู้นําชุมชน วัด/หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามา
             มีส่วนร่วมในการวางแผนการดําเนินงาน ทั้งนี้ เนื่องมาจากผู้บริหารโรงเรียนยังให้ความสําคัญ
             เกี่ยวกับการเปิดโอกาสผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือให้ชุมชน ผู้นําชุมชน วัด/หน่วยงานต่าง ๆ ที่

             เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการดําเนินงาน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจาก
             การปฏิบัติงานของสถานศึกษา ไม่มากพอ สอดคล้องกับสํานักนายกรัฐมนตรี (2542, หน้า 48)
             ได้กล่าวว่า หลักการมีส่วนร่วมคือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอ
             ความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสําคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแสดงความเห็น การไต่สวน
             การประชาพิจารณ์ หรือการแสดงประชามติ

                            1.2.5 ด้านหลักความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
             คือ โรงเรียนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนร่วมกับชุมชนเนื่องในวันสําคัญ เช่น วันพ่อแห่งชาติ/วัน
             แม่แห่งชาติ รองลงมาคือ บุคลากรในโรงเรียนมีความไว้วางใจต่อการปฏิบัติงานของเพื่อน

             ร่วมงานทุกคน ทั้งนี้ เนื่องมาจากผู้บริหารยังให้ความสําคัญกับนักเรียนและชุมชนในการทํา
             กิจกรรมในวันสําคัญต่าง ๆ ไม่เพียงพอ ครูและบุคลากรทางการศึกษาเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่ง
             กันและกันในการปฏิบัติหน้าที่  สอดคล้องกับ พระวิรัช เอี่ยมศรีดี (2554, หน้า 105) ได้ศึกษา
             การประเมินความต้องการจําเป็นในการบริหารงานที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลของครูและ

             บุคลากรของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม พบว่า สภาพที่ควรจะเป็นใน
             ด้านหลักความรับผิดชอบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
                            1.2.6 ด้านหลักความคุ้มค่า อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ
             โรงเรียนมีการบริหารทรัพยากรที่มีอย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รองลงมาคือ ผู้บริหาร

             โรงเรียนมีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้
             เนื่องมาจากครูและบุคลากรของสถานศึกษา มีความต้องการไปในแนวทางเดียวกัน คือยังไม่มี
             ความคุ้มค่าเท่าที่ควร และมีความต้องการให้มีการใช้ประโยชน์จากพัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา
             และครุภัณฑ์ต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าอย่างสูงสุด สอดคล้องกับ พิชญาภา จัน

             ทศรี (2553, หน้า 122) ได้ศึกษาปัญหาและความต้องการในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิ
             บาลของบุคลากร สังกัดสถาบันการพลศึกษา ผลการศึกษาความต้องการในการบริหารงาน
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72