Page 73 - JRISS-vol.1-no.3
P. 73

68  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

                          “ทําไมคุยกับคนนี้แล้วรู้สึกดีจัง” โดย โยชิดะ ฮิซุโนะริ


                                                                                         1
                                                            ปริทัศน์โดย รศ. ดร. สมาน อัศวภูมิ

             ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน
                     โยะชิดะ ฮิซะโนะริ เป็นนักจัดรายการวิทยุที่สถานีวิทยุนิปปง บรอดคาสติ้ง ซิสเต็ม

             และ นิตะมินะ เรดิโอ” เกิดที่โตเกียว เมื่อ ค.ศ. 1975  สําเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์
             มหาวิทยาลัยเคโอ เคยได้รับรางวัลกาแล็กซี สาขาผู้จัดรายการวิทยุ 2012 และเป็นผู้บริหาร
             บริษัทโทน คอนเนคต์ ติดต่อเขาได้จาก twitter:@yoshidahisanori

                     หนังสือเล่มนี้แปลโดย โยซุเกะ

             สาระสําคัญของหนังสือ
                     ก่อนอื่นผู้ปริทัศน์อยากจะบอกว่า เลือกซื้อหนังสือเล่มนี้เพราะคิดว่าจะได้ฟัง

             คําแนะนําที่หวานแหวว ซึ่งจะเป็นคําแนะนําที่ผู้ปริทัศน์สามารถนําไปใช้เพื่อเป็นนักสื่อสารโร
             แมนติก และเสริมเสน่ห์ให้กับตนเองมากขึ้นเท่านั้น แต่พออ่านจบก็พบว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับ
             “ความเข้าใจและเทคนิคในการสื่อสาร” ที่ไม่ค่อยปรากฏในตําราด้านการสื่อสารทั่วไป จึง
             ตัดสินใจปริทัศน์ครับ อย่างไรก็ตาม คงไม่สามารถที่จะนําสาระทั้งหมดมาสรุปไว้ในปริทัศน์ได้

             ทั้งหมดครับ
                     หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 11 บท ประกอบด้วย 9 บทหลัก บทนํา และบทส่งท้าย คือ
             บทนํา ผู้เขียนกล่าวถึงว่าคนส่วนใหญ่กลัวที่จะสนทนากับคนอื่น เพราะเป็นคนพูดไม่เป็น แต่
             หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว “บอกลาคนเก่าของตนเองซึ่งเป็นคนพูดไม่เก่งได้เลย บทที่ 1

             กล่าวถึงเป้าหมายในการสื่อสาร ซึ่งตําราทั่วไปบอกว่า เพื่อการสื่อสารสาระที่ต้องการสื่อสาร
             แต่ผู้เขียนบอกว่าจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร คือการทําให้รู้สึกดีและผ่อนคลายขณะที่สื่อสาร
             หรือสนทนากัน
                     บทที่ 2 กล่าวถึงเมื่อผู้เขียนยังมีข้อบกพร่องในการสื่อสาร ซึ่งจริง ๆ ผู้เขียนไม่ค่อย

             เห็นด้วยในการใช้คําว่า “บกพร่องด้านการสื่อสาร” เพราะหลายคนไม่ค่อยอยากพูด หรือ
             สนทนากับคนอื่นด้วยเกรงว่าจะมีข้อบกพร่องในการสื่อสาร โดยเกรงว่าตนเองจะไม่มีข้อมูลใน
             การสื่อสาร และสื่อสารได้ไม่ดี คนจะไม่เข้าใจสิ่งที่ตนเองสื่อสาร  แต่ผู้เขียนเห็นว่าการสื่อสาร
             เป็นเพียงเกม ซึ่งมีกติกาในการเล่น แค่เล่นตามกติกาของเกมเท่านั้น โดยเกมมีจุดมุ่งหมายให้คู่

             สนทนารู้สึกดี สนทนากันได้ราบรื่นนั่นเอง




             1  รองศาสตราจารย์, ดร.  ข้าราชการบํานาญ  (Associate Professor, Ph.D.,  retired government
             servant service)
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78