Page 30 - JRISS-vol.1-no.3
P. 30
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017 25
แข่งขันในรูปแบบต่างๆ ปัญหาครอบครัว ก่อให้เกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความเครียด
การปรับตัวที่ไม่เหมาะสม หรืออื่นๆ ที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตและสภาพกายของทุกคนที่
เกี่ยวข้อง ดังนั้น ภาพความสําเร็จที่เกิดจากการพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามความมุ่งหวังนั้น
จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกคน โดยเฉพาะบุคลากรครูทุกคนใน
โรงเรียน ซึ่งมีครูที่ปรึกษาเป็นหลักสําคัญในการดําเนินการต่างๆ เพื่อการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนอย่างใกล้ชิด ด้วยความรักและเมตตาที่มีต่อศิษย์ และภาคภูมิใจในบทบาทที่มีส่วน
สําคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้เติบโตงอกงาม เป็นบุคลที่คุณค่าของสังคม
ต่อไป
นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กําหนดความมุ่ง
หมายและหลักการจัดการศึกษา ว่าต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา 6) และแนวการจัดการศึกษายังได้ให้
ความสําคัญแก่ผู้เรียนโดยยึดหลักว่า ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือ
ว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
(มาตรา 22) ในการจัดการศึกษาต้องเน้นความสําคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้
และบูรณาการตามความเหมาะสม ของแต่ละระดับการศึกษา ซึ่งเรื่องหนึ่งที่กําหนดให้
ดําเนินการ คือเรื่องความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดํารงชีวิตอย่างมีความสุข
(มาตรา 23 ข้อ (5)) ทั้งนี้การจัดกระบวนการเรียน ให้คํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้
ผู้เรียนรู้จักประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้รู้จักคิดเป็น ทําเป็น รวมทั้ง
ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา อีกทั้งมีการ
ประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมมือกัน
พัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (จามจุรี จําเมือง 2558: 65)
โรงเรียนเป็นสถาบันการศึกษา มีหน้าที่จัดการศึกษาให้กับนักเรียน โดยมีครูเป็นผู้ทํา
หน้าที่อบรมสั่งสอน เพื่อพัฒนาคนให้เป็นคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
การศึกษาของไทยในอดีต ครูมีหน้าที่ทั้งสอนหนังสือและสอนคนควบคู่กันไป ครูจะดูแลเอาใจ
ใส่ลูกศิษย์อย่างใกล้ชิดและสม่ําเสมอ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของสังคม ปัจจุบันครูส่วนใหญ่
มุ่งเน้นการสอนหนังสือมากกว่าการสอนคน ทําให้การดูแลเอาใจใส่นักเรียนลดลง อันเป็นผล
ให้นักเรียนมีพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์และสร้างปัญหาให้กับสังคม ผลกระทบที่สําคัญ ได้แก่
ปัญหาด้านการเรียน นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน มาโรงเรียนสาย และหนีเรียน
ปัญหาด้านความประพฤติ เกี่ยวกับการแต่งกายผิดระเบียบ ก้าวร้าวไม่สุภาพ ปัญหาการขาด
ระเบียบวินัย ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของโรงเรียน ปัญหาด้านยาเสพติด ทําให้
พบว่านักเรียนมีการทดลองใช้สารเสพติด และมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงเรียน
มัธยมศึกษา ปัญหาการทะเลาะวิวาท เที่ยวเตร่ มั่วสุมทางเพศ ที่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ตัวเอง