Page 25 - JRISS-vol.1-no.3
P. 25
20 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017
เรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเรื่องที่ศึกษา และมีเจตคติ
ที่ดีต่อเรื่องนั้นด้วย
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1 การนําประสบการณ์ หรือใช้ประสบการณ์ให้เป็นประโยชน์ในการจัดการ
เรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่ควรได้รับการส่งเสริม และผู้สอนควรได้นําไปใช้เป็นแนวในการ
จัดการเรียนการสอนของตน เพราะจะทําให้ผู้สอนได้เชื่อมโยงประสบการณ์การทํางาน สู่การ
จัดการเรียนการสอนด้วย
1.2 ความจริงแล้วการเชื่อมโยงประสบการณ์ทํางานกับการจัดการเรียนการสอน
อย่างเดียวก็เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในตัวเองอยู่แล้ว แต่การใช้วิธีการ
วิจัยในชั้นเรียนมาเป็นเครื่องมือในการดําเนินการก็จะทําให้ผู้สอนและผู้เรียนเพิ่มความ
ระมัดระวังในการดําเนินงานมากขึ้น รอบคอบขึ้น แต่ก็ไม่อยากให้ผู้สอนมีความกังวลใจ
เกี่ยวกับวิธีการวิจัยและการรายงานการวิจัย จนเป็นข้อจํากัดในการประยุกต์ใช้ประสบการณ์
ทํางานในการจัดการเรียนการสอน
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ผู้สนใจรูปแบบการวิจัยนี้ อาจจะวิจัยในชั้นเรียนโดยการประยุกต์ใช้แนวคิด
อื่น ๆ ในการจัดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ภาคสนามได้
2.2 ผู้สนใจอาจจะวิจัยในชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการ
ทําหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา โดยการออกแบบวิธีการเก็บข้อมูลและรายงานภาคสนาม
ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สํานักงาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จํากัด.
นิวัฒน์ สิงข์ศิริ และคณะ. (2556). รายงานเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลคณะกรรมการ
สถานศึกษา. เอกสารอัดสําเนา.
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก.สํานักงาน. (2553). คู่มือการ
ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2548) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: แม็ทพอยท์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ในราชกิจจา
นุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก (19 สิงหาคม 2542).