Page 35 - JRISS-vol.1-no.3
P. 35

30  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

             จําแนกเป็นรายด้านพบว่า การคัดกรองนักเรียนและการส่งเสริมนักเรียน ครูมีความคิดเห็นที่
             แตกต่างกัน ส่วนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การป้องกันปัญหา และการส่งต่อ มีความ
             คิดเห็นไม่แตกต่างกัน และสอดคล้องกับงานวิจัยของ นฤมล มะลิวัลย์ (2552: 121) ได้

             ทําการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ สภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือ
             นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดตรัง การ
             เปรียบเทียบ สภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน
             สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดตรัง จําแนกตามตําแหน่ง และ

             ประสบการณ์การทํางาน พบว่า ผู้บริหาร และครู ที่มีตําแหน่งและประสบการณ์การทํางาน
             ต่างกัน มีสภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัด
             สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดตรัง ไม่แตกต่างกัน

                     3. แนวทางในการพัฒนาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา
             ในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ใน 5 ด้าน พบว่า
             3.1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โรงเรียนจัดทําข้อมูลนักเรียนตามสดมภ์ข้อมูลของ
             โรงเรียนเป็นรายบุคคล เป็นรายชั้นเรียนโดยครูประจําชั้นเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ
             3.2) ด้านการคัดกรองนักเรียน โรงเรียนดําเนินการวิเคราะห์เพื่อคัดกรองนักเรียนตาม

             แบบฟอร์มบันทึกมาตรฐานของ สพฐ. ตามเกณฑ์การคัดกรอง 3.3) ด้านการส่งเสริมและ
             พัฒนานักเรียน โรงเรียนได้ดําเนินการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนทุก ๆ ด้าน ตามแนวนโยบาย
             ของโรงเรียนให้สอดคล้องกับ สพฐ. และสพป. ยโสธร เขต 1 ส่งเสริมและพัฒนาด้าน

             คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้งด้านวิชาการและด้านกีฬา รวมทั้งชุมชนมีส่วนร่วมในการ
             ส่งเสริมและพัฒนานักเรียน 3.4) ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข การป้องกัน ช่วยเหลือ
             และแก้ไขนักเรียน โรงเรียนได้ดําเนินการป้องกันโดยใช้ระบบของกิจกรรมลูกเสือเข้ามาช่วยใน
             การเรียนการสอนทักษะชีวิต และมีเจ้าหน้าที่ตํารวจมาดําเนินการจัดกิจกรรมและร่วมสอน

             อย่างสม่ําเสมอ เพื่อป้องกันนักเรียนจากสิ่งเสพติด ให้คําปรึกษา นักเรียนที่มีปัญหาและแก้ไข
             นักเรียนที่ทําผิดและกลุ่มเสี่ยงทางเพศและยาเสพติด 3.5) ด้านการส่งต่อนักเรียน โรงเรียนได้
             ดําเนินการส่งต่อนักเรียน เมื่อจบการศึกษาระดับชั้นสูงสุด คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัด
             ให้นักเรียนได้รับการแนะแนวจากโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนต่อระดับชั้น

             มัธยมศึกษา 100% ทุก ๆ ปี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของของวาสนา บุญทอง (2552:98) ที่
             ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในเขตคุณภาพนาดี
             2 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ด้านการรู้จักเรียนเป็น
             รายบุคคล พบว่าการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในเขตคุณภาพนาดี 2

             สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับ
             มาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความร่วมมือของผู้ปกครอง นักเรียนในการให้ข้อมูลกับโรงเรียน
             การส่งเสริม สนับสนุน และให้ความสําคัญในการดําเนินงานจัดทําข้อมูลนักเรียนเป็น
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40