Page 34 - JRISS-vol.1-no.3
P. 34
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017 29
ได้รับการแนะแนวจากโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนต่อระดับชั้นมัธยมศึกษา
100% ทุกๆ ปี
อภิปรายผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัยเกี่ยวกับสภาพ ปัญหา และแนวทางใน
การดําเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 มีประเด็นที่จะมาอภิปราย ดังนี้
1. สภาพการดําเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัด
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 รวมทุกด้าน โดยพิจารณารายด้าน
พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ประนอม แก้วสวัสดิ (2556:94) ที่
ได้ทําการศึกษาวิจัย สภาพและปัญหาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 พบว่าผู้บริหารและครู มีความคิดเห็น
เกี่ยวกับสภาพการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ด้านการรู้จัก นักเรียนเป็นรายบุคคล มีสภาพการ
ดําเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด
ได้แก่ โรงเรียนมีแผนและปฏิทินปฏิบัติงานการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานนักเรียนเป็นรายบุคคล
โดยแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานเตรียมความพร้อม รองลงมา ได้แก่ ครูและผู้บริหารได้
ดําเนินงานตามแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และอันดับที่ 3 ได้แก่
ครูได้สรุปผลและรายงานผลเกี่ยวกับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลต่อผู้บริหาร ผู้ปกครอง
และชุมชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งตามลําดับ ส่วนข้อที่ผู้บริหาร และครูเห็นว่ามีสภาพการ
ดําเนินงานต่ํากว่าข้ออื่นๆ ได้แก่ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน
เกี่ยวกับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในสถานศึกษา
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ที่มีเพศ ตําแหน่ง และ
ประสบการณ์ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพ ปัญหา และแนวทางในการดําเนินงาน
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษายโสธร เขต 1 ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็น
เพราะนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดให้โรงเรียนดําเนินงานระบบดูช่วยเหลือ
นักเรียนอย่างมีส่วนร่วมทุกคน จึงทําให้ ผู้บริหาร และครูมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน ซึ่ง
สอดคล้องกับงานวิจัยของปิยะนุช นารอง (2550 : 102) ที่ได้ทําการศึกษาวิจัย ความคิดเห็น
ของครูที่มีเพศต่างกัน ว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการดําเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนของครูใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์อํานวยการเครือข่ายภูพานทอง สํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และ