Page 20 - JRISS-vol.1-no.3
P. 20

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017   15

                        แนวการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติไว้ในหมวด 5 ของ

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในระยะต่อมาอีกสองฉบับ
                โดยมีเจตนารมณ์ที่จะกระจายอํานาจการบริหารไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาให้มาก

                ขึ้น โดยเฉพาะการกระจายอํานาจการบริหารงานทั้งสี่งาน คือ งานวิชาการ งบประมาณ การ
                บริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป เพราะการบริหารงานวิชาการนั้น สํานักงาน
                คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กําหนดภาระงานไว้ 17 รายการ (สมาน อัศวภูมิ, 2554)
                เพื่อเป็นแนวในการดําเนินงานของสถานศึกษา ดังนี้ (1) การพัฒนาหรือการดําเนินการเกี่ยวกับ

                การให้ความเห็นในการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น (2) การวางแผนงานด้านวิชาการ (3) การ
                จัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา (4) การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา (5) การพัฒนา

                กระบวนการเรียนการสอน (6) การวัดผล ประเมินผล และดําเนินการเทียบโอนผลการเรียน (7)
                การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา (8) การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
                (9) การนิเทศการศึกษา (10) การแนะแนว (11) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและ
                มาตรฐานการศึกษา (12) การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ (13) การประสาน
                ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (14) การส่งเสริมและสนับสนุน
                งานวิชาการแก่ บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัด

                การศึกษา (15) การจัดทําระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา (16)
                การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในการศึกษา และ (17) การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อ
                การศึกษา


                การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก
                        ได้กล่าวมาแล้วว่าคุณภาพเป็นยอดปรารถนาของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้
                ให้บริการ และลูกค้า แต่ปัญหาสําคัญก็คือ คุณภาพที่ว่านั้นคืออะไร คุณภาพของคุณกับของ

                ผู้วิจัย เหมือนกันหรือไม่ คุณภาพของผู้ให้และผู้ใช้บริการเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นคนละเรื่อง
                เดียวกัน ดังนั้นจุดเริ่มต้นสําคัญของคุณภาพจึงอยู่ที่นิยามคุณภาพ ซึ่งจะใช้นิยามไหนอย่างไร
                ให้ตกลงกันไว้ก่อน หาไม่แล้วจะถกเถียงกันไม่มีที่สิ้นสุด
                        ความหมายคุณภาพ

                        แม้ว่าคุณภาพเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของคนส่วนใหญ่ แต่หาคํานิยามที่ตรงใจหรือถูกใจ
                ทุกคนนั้นเป็นเรื่องยาก นักวิชาการหลายคนเขียนหนังสือเกี่ยวกับคุณภาพ แต่ไม่นิยามคุณภาพ
                ของตนเอง และที่ให้นิยามไว้ก็ไม่ค่อยตรงกัน Foster (2004 5-6) อธิบายเกี่ยวกับคุณภาพว่า
                ขึ้นอยู่กับฐานคุณภาพที่เรากําหนด เช่น ถ้านิยามคุณภาพตามผลผลิต คุณภาพก็จะหมายถึง

                ส่วนประกอบและคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิต แต่ถ้านิยามคุณภาพเชิงคุณค่า  คุณภาพก็
                จะหมายถึงความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์กับคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นต้น และ Foster แบ่ง
                ฐานคิดในการนิยามคุณภาพไว้ห้าฐาน คือ คุณภาพตามมุ่งหวัง (Transcendent) คุณภาพตาม
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25