Page 24 - JRISS-vol.1-no.3
P. 24

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017   19

                        3. สรุปผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา
                        ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อประสบการณ์และการเรียนรู้เกี่ยวกับการ
                ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกที่ได้จากการศึกษาภาคทฤษฎีในชั้นเรียน และการเก็บ

                ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาในสภาพจริงนั้น พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจตามเกณฑ์การ
                ประเมินที่กําหนดไว้ คือ มีความพึงพอใจในระดับมากขึ้นไป

                อภิปรายผลการวิจัย

                        จากผลการวิจัยที่นําเสนอและสรุปไว้ข้างต้นนั้นมีประเด็นที่ควรมาอภิปรายดังนี้
                        1. มาตรฐานที่ใช้เป็นแนวในการประกันและประเมินคุณภาพการศึกษาโดยต้นสังกัด
                ซึ่งจะใช้เป็นแนวในการประกันคุณภาพภายในและที่ สมศ.ใช้เป็นแนวในการประเมินคุณภาพ

                การศึกษาภายนอก ยังไม่เป็นชุดเดียวกัน และมีวิธีการประเมินแตกต่างกัน เป็นต้นเหตุปัญหา
                ทั้งในการประกันคุณภาพการศึกษาของไทย และสร้างความสับสนให้กับนักศึกษาที่ศึกษาเรื่อง
                นี้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตมาหลายครั้ง (สมาน อัศวภูมิ, 2551) และยังสะท้อน
                ปัญหานี้ตามที่นักศึกษาพบในการเก็บข้อมูลภาคสนามในครั้งนี้ ดังที่นําเสนอไปแล้วในงานวิจัย
                ของ สุภาวรรณ จันทะบุตร และคณะ (2556) ทั้งนี้เพราะสถานศึกษาต้องดําเนินงานทั้งการ

                ประกันคุณภาพภายในและเตรียมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกคู่ขนานกันไป ทํา
                ให้ดูเหมือนเป็นการเพิ่มภาระโดยไม่จําเป็น
                        2. บทบาทของคณะกรรมการในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา และการ

                ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกนั้น แม้ว่าระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยระบบ
                เกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) และแนวปฏิบัติ
                ของคณะกรรมการสถานศึกษาในการมีส่วนร่วมในการดําเนินงานของสถานศึกษา รวมทั้งการ
                ประกันคุณภาพการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ) จะกําหนดบทบาทของคณะกรรมการไว้

                อย่างชัดเจน แต่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติดังรายงานการเก็บข้อมูลภาคสนามของ
                นักศึกษา (นิวัตน์ สังข์ศิริ และคณะ, 2556) ทั้งนี้เป็นเพราะว่าโดยบทบาทหน้าที่หลักของ
                คณะกรรมการสถานศึกษาที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ราช
                กิจจานุเบกษา, 2542) ส่วนการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและคณะทํางานรับผิดชอบการเตรียมการ

                รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 ก็เป็นเรื่องการกระจายงานและความ
                รับผิดชอบให้งานเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
                        3. นักศึกษาส่วนใหญ่ประเมินตนเองว่าได้รับประสบการณ์ และการเรียนรู้เรื่องการ
                ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 80 ขึ้นไป

                และมีความพึงพอใจต่อประสบการณ์และการเรียนรู้อยู่ระดับมากขึ้นไป จากการเข้าร่วม
                กิจกรรมการวิจัยในชั้นเรียน โดยเฉพาะการออกเก็บข้อมูลนั้น อาจจะเป็นเพราะว่าการได้
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29