Page 22 - JRISS-vol.1-no.3
P. 22

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017   17

                คุณภาพไว้อย่างเป็นทางการเท่านั้น เพื่อให้คุณภาพได้รับการประกันและประกาศไว้อย่างเป็น
                ทางการและเป็นสาธารณะ นักวิชาการจึงได้คิดระบบและวิธีการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์
                หรือบริการไว้ล่วงหน้าโดยกําหนดมาตรฐานคุณภาพไว้ และหากองค์การสามารถดําเนินการได้

                ตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ก็ยอมรับว่าหน่วยงานนั้นมีคุณภาพ ซึ่งคุณภาพตามเกณฑ์เหล่านี้
                เรียกว่า “คุณภาพเชิงสัมพัทธ์” ดังจะได้นําเสนอต่อไป
                        คุณภาพเชิงสัมพัทธ์
                        คุณภาพเชิงสัมพัทธ์ เป็น คุณภาพเชิงเปรียบเทียบสภาพที่เป็นอยู่กับสภาพที่คาดหวัง

                ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีการกําหนดนิยามและมาตรฐานการศึกษา (ที่มุ่งหวังไว้) และใช้เกณฑ์
                ดังกล่าวเป็นไม้บรรทัดวัดคุณภาพของหน่วยงาน ความจริงแล้วคุณภาพเชิงสัมบูรณ์ก็มีการ
                เปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นมาตรฐานเฉพาะบุคคลและเป็นการเปรียบเทียบประวัติและ

                ผลงานที่ปรากฏอยู่มากกว่าการเปรียบเทียบสภาพที่เป็นอยู่กับเกณฑ์คุณภาพที่กําหนดไว้
                        สําหรับระบบประกันและการประเมินคุณภาพการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้ ใช้
                แนวคิดและวิธีการคุณภาพเชิงสัมพัทธ์ โดยใช้มาตรฐานเป็นตัวบ่งชี้ในการเปรียบเทียบและวัด
                ระดับคุณภาพ หรือที่ผู้วิจัย เรียกว่า “คุณภาพตามมาตรฐาน” หมายความว่า “สถานศึกษาใด
                ก็ตามที่ทําได้ตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ ถือว่ามีคุณภาพ” ถ้าเราเห็นว่าเกณฑ์คุณภาพยังไม่

                เหมาะสม ให้แก้ไขที่เกณฑ์มาตรฐาน แต่ถ้าตราบใดเรายังใช้มาตรฐานนั้นอยู่ เราก็จะถือว่า
                มาตรฐานเหล่านั้นคือเกณฑ์คุณภาพ
                        มาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 3  ระดับการศึกษา

                ขั้นพื้นฐาน
                        มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ในการประเมินภายนอก รอบ 3 ระดับการศึกษาขั้น
                พื้นฐานของ สมศ. ตามคู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 (พ.ศ. 2554-2558) ระดับ
                การศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2554 (สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน

                คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2553) โดยสรุปมี 4 มาตรฐาน 12 ตัวบ่งชี้ (หลัก) และ
                25 ตัวบ่งชี้ (ย่อย) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน อัตลักษณ์ และมาตรการส่งเสริม
                ซึ่งสามารถจัดระบบและกลุ่มเพื่อประโยชน์ในการทําความเข้าใจและเป็นฐานในการประเมิน
                คุณภาพการศึกษาภายนอก


                สรุปผลการวิจัย
                        1. สรุปสาระเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก
                        จากการประมวลประสบการณ์ภาคสนาม พบว่า นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงใน

                การเตรียมการรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 เชิงลึก หลายเรื่อง
                โดยเฉพาะการตั้งผู้รับผิดชอบและคณะทํางานเตรียมการรับการประเมิน เป็นรายตัวบ่งชี้ ส่วน
                ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 ระดับการศึกษาขั้น
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27