Page 23 - JRISS-vol.1-no.3
P. 23

18  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

             พื้นฐานนั้น นักศึกษาควรทําความเข้าใจความหมายของ คุณภาพและระบบประกันคุณภาพ
             การศึกษาของไทย สําหรับความหมายของคุณภาพในการวิจัยครั้งนี้นั้น มีสองลักษณะใหญ่ ๆ
             คือ คุณภาพเชิงสัมบูรณ์ซึ่งเป็นคุณภาพความชอบหรืออุดมคติของผู้นิยาม และคุณภาพเชิง

             สัมพัทธ์ ซึ่งเป็นคุณภาพตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ และในการประกันคุณภาพการศึกษาไทยเป็น
             การประกันคุณภาพตามความหมายเชิงสัมพัทธ์ กล่าวคือมีการกําหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้
             มาตรฐานคุณภาพขึ้นมา เพื่อการดําเนินการประกันคุณภาพและประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ที่
             กําหนดไว้

                     การประกันคุณภาพการศึกษาไทย มีสองระบบ คือการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งเป็น
             ระบบที่สถานศึกษาและต้นสังกัดจะดําเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการประกัน
             คุณภาพภายนอก ซึ่งสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก หรือ

             สมศ. เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ส่วนมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่ สมศ. กําหนดใช้ในการ
             ประเมิน รอบ 3 เรียกว่า ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีทั้งหมด 12 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ผู้เรียนมีสุขภาพกายและ
             สุขภาพจิตที่ดี 2) ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี 3) ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และ
             เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 4) ผู้เรียนคิดเป็น ทําเป็น 5) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
             ตามหลักสูตร 6) ประเมินคุณภาพของครูโดยการประเมินเกี่ยวกับประสิทธิผลของการจัดการ

             เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ 7) ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและพัฒนา
             สถานศึกษา 8) การดําเนินงานประกันคุณภาพภายใน 9) การพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา
             ปณิธาน พันกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา 10) การพัฒนาจุดเน้นและจุดเด่นที่

             ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา 11) การดําเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริม
             บทบาทของสถานศึกษา และ 12) ประเมินโครงการที่จะส่งผลต่อการส่งเสริมสถานศึกษาเพื่อ
             ยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
                     2. สรุปผลการศึกษาความเข้าใจของนักศึกษา

                     ผลการศึกษาความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษา
             ภายนอก รอบ 3 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 80 ของ
             นักศึกษาทั้งหมด ประเมินตนเองว่ามีความรู้ความเข้าใจตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ ประเมินว่า
             ตนเองมีความรู้ความเข้าใจไม่ต่ํากว่า 8 ระดับ จาก 10 ระดับ ส่วนความคิดเห็นเพิ่มเติม สรุป

             ได้ว่า การออกเก็บข้อมูลภาคสนามครั้งนี้ ทําให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในการประเมินคุณภาพ
             การศึกษาภายนอก การเก็บข้อมูลประกอบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกเป็นสิ่ง
             สําคัญและจําเป็น แต่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติพอสมควร การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ
             สถานศึกษาในการเตรียมการและการรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ยังมีปัญหา

             ในทางปฏิบัติพอสมควร
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28