Page 19 - JRISS-vol.1-no.3
P. 19

14  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

                     ความเข้าใจคลาดเคลื่อนประการที่สอง คือ คนส่วนใหญ่ รวมทั้งข้าราชการทั้งหลาย
             เห็นว่างานบริการของรัฐต้องมีสถานะเป็นหน่วยงานราชการ ไม่ต้องแข่งขันคนอื่น ซึ่งแปลว่า
             ไม่ต้องมีคุณภาพและประสิทธิภาพก็ได้

                     ความเข้าในคลาดเคลื่อนที่สามคือ หน่วยงานของรัฐมีความมั่นคงสูง ไม่มีวันล่มสลาย
             หรือเจ๊ง เพราะทุกปีรัฐจะจัดสรรงบประมาณให้ดําเนินการอยู่แล้ว แต่อาจจะลืมคิดต่อไปว่า
             การที่หน่วยงานราชการ รวมทั้งองค์การทางการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพและด้อยประสิทธิภาพนั้น
             จะส่งผลสําคัญต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ใช้บริการและประชาชนโดยรวมต่อไป ยิ่งถ้าเป็น

             องค์การทางการศึกษาแล้ว จะส่งผลต่อคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อ
             เรื่องอื่น ๆ ตามมาอีกมาก
                     ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนทั้งสามประการนี้ ทําให้การบริหารบ้านเมืองของเรามี

             ปัญหาอยู่ในปัจจุบัน เพราะความจริงแล้วหน่วยงานของรัฐยิ่งจําเป็นต้องมีคุณภาพและ
             ประสิทธิภาพ เพราะหน่วยงานของรัฐเป็นกลไกที่จะให้บริการและอํานวยความสะดวกแก่
             บุคคลและหน่วยงานเอกชน ซึ่งเป็นหน่วยผลิตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศ ให้ได้รับ
             ความสะดวก ปลอดโปร่งและมีศักยภาพพอที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นได้ กรณีหน่วยงานทาง
             การศึกษาซึ่งอยู่ในสภาพใกล้เคียงกัน แต่ที่เข้าใจผิดกันอยู่ในปัจจุบันว่าตัวเองเป็นผู้ผลิต

             กําลังคนที่สําคัญของประเทศ จริงๆ แล้วที่เป็นเช่นนี้เพราะสถาบันของรัฐมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
             เอกชนเท่านั้นเอง จึงดึงดูดและได้คนที่มีไอคิวสูงมากกว่าเอกชนหน่อยเข้าไปเรียน แต่เมื่อเข้า
             ไปแล้วไม่แน่ใจว่าจะสามารถจะพัฒนาศักยภาพเพิ่มขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ก็ยังเป็นที่สงสัย

             กันอยู่ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานของประเทศอื่น แต่แน่นอนเมื่อสําเร็จ
             การศึกษาออกมาแล้ว ก็ย่อมมีคนเก่งกว่าคนอื่น พอที่จะให้หน่วยงานต่างๆ เลือกไปทํางานได้
             อยู่ดี แต่อาจจะได้เพียงแค่คนสูงที่สุดในหมู่คนแคระไปทํางานเท่านั้น ดังนั้น หากเราต้องการ
             ผลิตผลทางการศึกษาที่มีคุณภาพ เราต้องมีการบริหารที่มุ่งคุณภาพ เพราะคุณภาพคือหัวใจ

             สําคัญในการแข่งขันในยุคปัจจุบัน ดังข้อสรุปในหนังสือขายดีของ Peters และ Waterman
             (1982) ดั้นด้นหาความเป็นเลิศในบริษัทชั้นนําของอเมริกา ซึ่งพบว่าที่บริษัทอเมริกันสู้บริษัท
             ของญี่ปุ่นไม่ได้ เนื่องมากจาก “คุณภาพ” ข้อเท็จจริงก็คือคนที่นําบริษัทญี่ปุ่นสู่คุณภาพคือ
             Deming และ Juran กล่าวถึงใน Arcaro (1995) งานวิจัยของนักวิชาการทั้งสองเน้น

             กระบวนการคุณภาพเป็นเป้าหมายสูงสุดในการดําเนินงานขององค์การ ผู้วิจัยเชื่อว่าคุณภาพ
             ยังจะเป็นกฎแห่งความอยู่รอดของการบริหารงานในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดต่อไป  ดังนั้นการที่
             บทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในหมวด 6 (ราชกิจจานุเบกษา,
             2542) ได้กําหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกสําคัญในการบริหารการศึกษา

             ของไทยนั้น  นับว่าเป็นแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับยุคสมัยอย่างยิ่ง แม้จะมีปัญหาในทาง
             ปฏิบัติหลายประการอยู่ก็ตาม
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24