Page 18 - JRISS-vol.1-no.3
P. 18

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017   13

                เกี่ยวกับการเสริมสร้างและคงไว้ การกระตุ้นยั่วยุ และการรวมพลังต่างๆ ในองค์การทาง
                การศึกษา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ Campbell, Corbally, และ Nystrand
                (1983 : 1-2) กล่าวถึงการบริหารการศึกษาว่า หมายถึงการจัดการ (Management) ของ

                สถาบันต่างๆ ซึ่งออกแบบไว้เพื่ออํานวยการให้เกิดการสอน (Teaching) และการเรียน
                (Learning) และสถาบันเหล่านี้ ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ มณฑลการศึกษา โรงเรียนเอกชน
                มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน และอื่นๆ และนักวิชาการทั้งสามท่านได้อธิบายต่อไปว่า
                จุดประสงค์สําคัญของการบริหารคือ การอํานวยการให้มีการจัดการเรียนการสอน หรือกล่าวอีก

                นัยหนึ่งก็คือ การบริหารทําหน้าที่เป็นเครื่องมือในการดําเนินการจัดการเรียนการสอน แต่ไม่ใช่
                ดําเนินการเอง
                        โดยสรุปแล้วการบริหารเป็นกระบวนการและกิจกรรมที่สามารถใช้ในการบริหารงาน

                ในทุกระบบองค์การ ข้อแตกต่างคือหน่วยงานหรือองค์การที่จะบริหารนั้นมีภารกิจหลักอะไร
                เช่น การบริหารการศึกษา ภารกิจหลักก็คือ การจัดการศึกษา ซึ่งมีกิจกรรมหลักคือการจัดการ
                เรียนการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาจึง
                มีหน้าที่หลักคือการจัดให้มีกระบวนการและกิจกรรมทางการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้รับ
                ประสบการณ์และการเรียนรู้ตามจุดหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ในการบริหารงานที่

                ผู้บริหารรับผิดชอบนั้น ผู้บริหารต้องใช้ภาวะผู้นําในการระดมและใช้ทรัพยากรทั้งหลายทั้งปวง
                ในการดําเนินงานตามภารกิจขององค์การ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตาม
                วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

                        การบริหารสถาบันการศึกษาของรัฐ
                        สถานศึกษาของรัฐ เป็นหน่วยงานราชการเพื่อทําหน้าที่จัดการศึกษาให้กับเด็กและ
                เยาวชนของประเทศ องค์การทางการศึกษาจัดเป็นองค์การบริการประเภทหนึ่ง และ เมื่อ
                กล่าวถึงองค์การในการให้บริการ คนทั่วไปมักจะนึกถึงสองสิ่ง คือ การจัดการให้โดยไม่คิดมูลค่า

                หรือ ฟรี และยิ่งเป็นองค์การบริการที่เป็นหน่วยงานรัฐแล้วมักจะมีภาพลักษณ์พ่วงท้ายด้วย
                ว่าการดําเนินงานที่ไม่ค่อยจะมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพ ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าเป็นความเข้าใจที่
                คลาดเคลื่อนและเป็นผลเสียต่อกิจการบ้านเมืองไม่น้อย ความเข้าใจคลาดเคลื่อนประการแรก
                คือ เข้าใจว่าองค์การให้บริการทั้งหลาย ผู้ใช้บริการไม่ต้องจ่ายเงิน หรือจ่ายเงินน้อย เช่น

                หน่วยราชการทั้งหลาย สถานศึกษาของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ ความจริงแล้วผู้ใช้บริการทุก
                คน ในฐานะประชากรของประเทศจ่ายค่าบริการทางอ้อมโดยการจ่ายเป็นภาษีและได้นําเงิน
                เหล่านั้นเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินกิจการบริการต่างๆ ซึ่งรัฐจัดสรรเป็นงบประมาณในการ
                ลงทุนและการดําเนินการ เช่น ค่าสิ่งปลูกสร้าง เงินเดือนและค่าตอบแทนต่างๆ ค่า

                สาธารณูปโภคและอื่นๆ ดังนั้นผู้ให้บริการจึงไม่ใช่เจ้านายของผู้มาใช้บริการ
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23