Page 17 - JRISS-vol.1-no.3
P. 17
12 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017
ผู้บริหาร 3 คน ผู้แทนคณะทํางานที่ผิดชอบงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาที่ใช้เป็น
กรณีศึกษา จํานวน 10 คน
เครื่องมือในการวิจัย
เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความ
เข้าใจบทเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3
ก่อนมีการศึกษาภาคสนาม และส่วนที่ 2 เป็นแผนและกิจกรรมในการศึกษาภาคสนามของ
นักศึกษาเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3
2. แบบประเมินความเข้าใจบทเรียน
แบบประเมินความเข้าใจบทเรียนที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบประเมินตนเอง
ของนักศึกษาว่าตนเองมีความเข้าใจเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก
รอบ 3 มากน้อยเพียงใด จํานวน 20 ข้อ เป็นแบบประเมินค่า 10 ระดับ
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา
แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบ
ประเมินตนเองของนักศึกษาว่ามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการศึกษาภาคสนามประกอบการ
เรียนรู้ในรายวิชาการบริหารสําหรับครูครั้งนี้หรือไม่เพียงใด และพึงพอใจต่อผลการเรียนรู้เรื่องนี้
หรือไม่เพียงใด
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้หลักสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการ
วิเคราะห์เชิงเนื้อหา
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดพื้นฐานที่สําคัญในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย การบริหารการศึกษาขั้น
พื้นฐาน และแนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
การบริหารการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษา พัฒนามาจากฐานคิดของการบริหารธุรกิจและการบริหารรัฐกิจ
อย่างไรก็ตามนักวิชาการทางการบริหารการศึกษา กล่าวถึงเอาไว้เป็นการเฉพาะมีดังนี้
Knezevich (1962 : 12-13) ให้ความหมายของการบริหารการศึกษาไว้ว่า เป็นกระบวนการ