Page 16 - JRISS-vol.1-no.3
P. 16

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017   11

                มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2553) ขณะเดียวกันสถานศึกษาก็จะรู้สึกว่าตนเองต้องทํางาน
                หนักหลายเท่า ทั้งการบริหารงานปกติ การประกันคุณภาพภายใน ซึ่งต้องดําเนินการตามขั้นตอน
                และมาตรฐานการศึกษาอีกชุดหนึ่งที่แตกต่างไปจากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ซึ่ง

                เป็นการประเมินตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาที่ สมศ. กําหนดขึ้น (สมาน อัศว
                ภูมิ, 2555) ซึ่งนักศึกษาควรทําความเข้าใจ ศึกษาเพิ่มเติมระหว่างการศึกษาภาคสนามและ
                การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากกลับจากการศึกษาภาคสนามต่อไป
                        ประเด็นในการวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ คือ ประสบการณ์เรียนรู้ภาคสนามจะช่วยให้

                นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษามากขึ้นหรือไม่ และมีความพึงพอใจ
                กับประสบการณ์การเรียนรู้ภาคสนามหรือไม่ ให้นักศึกษาทํากิจกรรมเสริมอะไรจึงจะช่วยให้เขา
                ได้รับประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการบริหารงานในสถานศึกษาและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการประกัน

                คุณภาพการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก กอปรกับ
                คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีนโยบายให้คณาจารย์ผู้สอนรายวิชาต่าง ๆ
                ได้ทําการวิจัยในชั้นเรียนโดยการสนับสนุนทุนในการทําวิจัย ดังนั้นผู้วิจัยในฐานะผู้สอนและได้ทํา
                กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยตรงกับผู้เรียนอยู่แล้ว จึงสนใจที่ศึกษาการบูรณาการ
                ประสบการณ์ในการเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาและการประเมินคุณภาพการศึกษา

                ภายนอก ในการออกแบบกิจกรรมให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงในการลงเก็บข้อมูล
                ภาคสนาม โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้


                วัตถุประสงค์ในการวิจัย
                        1.  เพื่อประมวลสาระสําคัญเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3
                ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากประสบการณ์ในการเป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
                พื้นฐาน

                        2.  เพื่อศึกษาความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษา
                ภายนอก รอบ 3 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                        3.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อประสบการณ์และการเรียนรู้เกี่ยวกับ
                การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


                การดําเนินการวิจัย
                        กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย
                        กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้รวมทั้งสิ้น จํานวน 56 คน ประกอบด้วยนักศึกษา

                คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่เรียนวิชาการบริหารสําหรับครู ภาคเรียน
                ที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จํานวน 43 คน และผู้ให้ข้อมูลสําคัญจํานวน 13 คน ประกอบด้วยฝ่าย
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21