Page 11 - JRISS-vol.1-no.3
P. 11
6 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017
แทนกันได้” (สมาน อัศวภูมิ, 2539) เราคงต้องทบทวนและนิยามการเรียนรู้กันใหม่ดังกล่าว
มาแล้วข้างต้น ซึ่งผู้เขียนได้เสนอนิยามการเรียนรู้ไว้ว่า “การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น
ภายในบุคคล ในการปฏิสัมพันธ์และตอบสนองต่อสถานการณ์ที่บุคคลเผชิญโดยการเชื่อมโยง
กับประสบการณ์ การวิเคราะห์ และการตัดสินใจของตนเอง อันจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรของบุคคลดังกล่าว ในด้านความรู้ ทักษะ และ/หรือคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ของตนเองและสังคม”
โดยนิยามการเรียนรู้ใหม่นี้ ผู้เรียนเป็นต้นตอการเรียนรู้ทั้งมวล กล่าวคือถ้าผู้เรียนไม่
เห็นความสําคัญของการเรียนรู้ ไม่มีแรงจูงใจที่จะทํากิจกรรมใด ๆ ที่จะนําไปสู่การเรียนรู้ของ
ตน และสุดท้ายคือ ไม่ใส่ใจใดๆ ด้วยซ้ําว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรหรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเรา
จะไปคาดหวังอะไรกับคุณภาพการศึกษา ดังนั้นจุดเริ่มต้นของคุณภาพการศึกษาก็คือความ
เข้าใจและใส่ใจของผู้เรียน นักการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จึงมีหน้าที่สร้าง
ความเข้าใจและแรงจูงใจนี้ ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนให้จงได้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ต้องหา
หนทางให้ได้ ถ้าเรายังเห็นว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสําคัญของความอยู่รอดของมนุษยชาติ
และพวกเราจํานวนหนึ่ง ยังยึดอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการศึกษากันอยู่
ที่กล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องง่าย” ก็เพราะความเข้าใจไม่อาจจะทําให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
ด้วยการบอกหรือสอน ทั้งนี้เพราะการบอกหรือสอนเป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการให้ข้อมูล แต่
การจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ ทักษะ หรือคุณลักษณะที่ต้องเรียนรู้ใน
การแก้ปัญหาน่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ทําให้ผู้เรียนได้เข้าใจและจําเป็นในการเรียนรู้มากขึ้น
ขณะเดียวกันถ้าครูสามารถออกแบบและจัดการเรียนการสอนที่ทําให้ผู้เรียนอยากมีส่วนร่วม
และเห็นคุณค่าของกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว ก็เชื่อว่าผู้เรียนน่าจะมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ และ
เรียนรู้อย่างมีความหมายมากยิ่งขึ้น ผู้เขียนเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของ
สิ่งมีชีวิตอยู่แล้ว โดยเฉพาะสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่าคน แต่ทําไมการเรียนรู้ในปัจจุบันกลับ
กลายเป็นปัญหาด้วยตัวมันเอง การเรียนรู้เป็นเรื่องที่น่าสนุกตื่นเต้นและมีความสุข แต่ใน
ความเป็นจริงกลับพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นทุกข์กับการเรียน และผู้สอนส่วนใหญ่เป็น
ทุกข์กับการสอน สถานการณ์เช่นนี้ย่อมมีอะไรที่ไม่เป็นปกติแน่นอน ดังนั้นเราต้องทบทวนสิ่ง
ที่ผู้เรียนควรได้เรียนรู้ และกระบวนการศึกษาที่จะอํานวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนกันใหม่
ประเด็นสุดท้ายคือ “ความลงตัวระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับของสังคม” ซึ่งได้
จากการเรียนรู้ของบุคคล เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันใหม่ว่าจะแค่ไหนและอย่างไร จริงๆ แล้ว
ผู้เรียนรู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการเรียนรู้อยู่แล้ว และสังคมก็จะได้ประโยชน์ทางอ้อม
จากการเรียนรู้ของบุคคลในสังคมเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากต้องการให้ผลประโยชน์ลงตัว
ยิ่งขึ้นระหว่างผลประโยชน์ของบุคคลกับผลประโยชน์ของสังคมที่พึงได้รับจากการศึกษาและ
การเรียนรู้ของคนในสังคมนั้น สิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนควรได้เรียนนั้น ต้องเป็นสิ่งที่มีความหมาย