Page 10 - JRISS-vol.1-no.3
P. 10

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017   5

                        ในการเรียนรู้โดยรูปแบบการศึกษาที่เรียกว่า “การศึกษาตามอัธยาศัย” นั้น ผู้เรียน
                อาจจะเป็นผู้จัดกระบวนการการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ของตนเองด้วยตนเอง หรือจะอาศัย
                กระบวนการศึกษาที่ผู้อื่นจัดให้ก็ได้ ทั้งที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการ ส่วน

                การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบนั้น มีหน่วยงานและผู้รับผิดชอบในการจัด
                การศึกษาเป็นผู้จัดกระบวนการเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นหรือไม่
                อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับผู้เรียนเป็นสําคัญ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากรูปแบบ
                การศึกษาแบบไหน “กระบวนการเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน” นับว่าเป็นหัวใจสําคัญของการ

                เรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นผู้เรียน (ในกรณีที่เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย) หรือผู้รับผิดชอบในการ
                จัดการศึกษา (ในกรณีที่เป็นการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ) ต้องเลือกกระบวน
                การทางการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน

                กล่าวโดยสรุปก็คือ กระบวนการทางการศึกษาต้องอํานวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของ
                ผู้เรียน
                        ส่วนที่สองของนิยามการศึกษาคือ “การเรียนรู้ของผู้เรียน” ซึ่งโดยทั่วไป ก็เป็นการ
                เรียนรู้ ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในฐานะผู้เรียนรู้ ผู้เรียนต้องเป็นต้นตอ
                แห่งการเรียนรู้ทั้งมวล ในรูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้เรียนจะเป็นทั้งผู้กําหนดสิ่งที่

                ต้องการในการเรียนรู้ กระบวนการศึกษาที่จะเรียนรู้ และวิธีการในการเรียนรู้ ส่วนการศึกษา
                ในระบบและการศึกษานอกระบบนั้น ผู้จัดเป็นผู้กําหนดสิ่งที่ควรเรียนรู้ และกระบวนการ
                ศึกษา ที่จะอํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ แต่สิ่งที่จะเรียนรู้จริง ๆ นั้น ผู้เรียนต้องเป็นผู้

                กําหนดเอง กล่าวคือ ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจที่จะเรียนเป็นพื้นฐาน จึงจะทําให้เกิดการเรียนรู้ นี่
                คือปฐมเหตุของปัญหาคุณภาพการศึกษาในปัจจุบัน นักการศึกษา นักพัฒนาหลักสูตร
                ผู้บริหารการศึกษาระบบสูง ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน อาจจะกําหนดสิ่งที่ผู้เรียนควร
                เรียนรู้ เลือกกระบวนการทางการศึกษาที่เชื่อว่าจะอํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ แต่ไม่

                ทราบว่าผู้เรียนต้องการเรียนรู้ตามที่กําหนดไว้หรือไม่ และกระบวนการทางการศึกษาที่
                เลือกใช้ สามารถอํานวยความสะดวกและจูงใจผู้เรียนในการเรียนรู้ได้หรือไม่ นี่คือสิ่งที่
                ผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาต้องพิจารณาและออกแบบ ผู้บริหารการศึกษาทุกระดับต้อง
                สร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะครูผู้สอนซึ่งเป็นทัพหน้าในสร้างคุณภาพและ

                ความสําเร็จในการจัดการศึกษา

                ความเข้าใจและการนําใช้นิยามการเรียนรู้ของผู้เขียน
                        การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนถือว่าเป็นหัวใจสําคัญของนิยามการเรียนรู้ แต่

                การเรียนรู้จริง ๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยตัวผู้เรียน และเพื่อผลประโยชน์ของ
                ผู้เรียนเอง แต่ปรากฏการณ์ที่เห็นโดยทั่วไป พบว่าผู้เป็นห่วงเป็นใย กลับเป็นบุคคลอื่น เป็นต้น
                ว่า พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ไปจนถึงครู ผู้บริหาร และนักวิชาการ ด้วยหลักคิดที่ว่า “ไม่มีใครเรียนรู้
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15