Page 8 - JRISS-vol.1-no.3
P. 8

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.3 October-December 2017   3

                        อย่างไรก็ตาม “ถ้าการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้” แล้วก็แปลว่า “การศึกษากับ
                การเรียนรู้” เป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งจริงๆ ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น กล่าวคือ “การศึกษา กับ การ
                เรียนรู้” ไม่น่าจะเป็นสิ่งเดียวกัน แต่เป็นสองหน้าของเหรียญเดียวกัน หมายความว่าการศึกษา

                เป็นกระบวนการที่นําไปสู่การเรียนรู้ของผู้เรียน และคําว่า “การศึกษา หมายถึงกระบวนการ
                เรียนรู้” ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินั้น อันที่จริงหมายความว่า
                การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทําให้บุคคลได้เรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและ
                สังคม โดยกระบวนการและวิธีการต่างๆ ที่กล่าวถึงไว้เป็นเบื้องต้นในนิยามดังกล่าว ซึ่งก็ไม่

                แตกต่างไปจากที่ผู้เขียนเคยตั้งข้อสังเกตไว้ หลังจากได้ฟังคําอธิบายก็สิ้นสงสัยและทําให้เข้าใจ
                สาระอื่นๆ ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติมากยิ่งขึ้น
                        ผู้เขียนไม่ทราบว่าคนอื่นเคยอ่านความหมายของการศึกษาดังกล่าวอย่างจริงจังแค่

                ไหน เคยสงสัยหรือไม่ และได้นําใช้บทบัญญัติการศึกษาแห่งชาติตามที่กําหนดไว้หรือไม่
                เพียงใด ผู้เขียนเห็นแต่การกําหนดนโยบายและแนวคิดใหม่ๆ ออกมาใช้ และก็เลิกกันไป ที่
                สําคัญคือ เรามีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารการศึกษาระดับสูงบ่อยจนไม่มีความต่อเนื่องของการ
                บริหารการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาที่กําหนดไว้เท่าที่ควร ขณะเดียวกันก็มีการ
                แก้ไข และกําลังจะแก้ไขพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกันต่อไป โดยไม่มีการวิเคราะห์กัน

                จริงจังว่าปัญหาอยู่ที่พระราชบัญญัติการศึกษา หรือการนําใช้พระราชบัญญัติการศึกษา จริง
                อยู่ว่าการเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นได้เพื่อทําให้การศึกษาไทยดีขึ้น แต่คําถามคือ เราได้ทบทวน
                เรื่องเหล่านี้กันอย่างจริงจังมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะความหมายของคําว่า “การศึกษา กับ

                การเรียนรู้” ซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา เพื่อตรวจสอบดูว่าเรามีความเข้าใจเรื่องนี้กัน
                มากน้อยเพียงใด ดังจะได้กล่าวถึงกันต่อไป

                ทบทวนนิยามการศึกษาและการเรียนรู้

                        ที่ผู้เขียนชี้ชวนให้มีการทบทวนนิยามของคําว่า “การศึกษาและการเรียนรู้” ใหม่นั้น
                มิได้หมายความว่าถ้าจะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกันใหม่ต้องแก้ไขนิยาม
                การศึกษาใหม่ แต่อยากให้มีการทบทวนว่าเราเข้าใจสองคํานี้จริงๆ หรือไม่เพียงใด และก็ไม่ได้
                หมายความว่าผู้เขียนจะทบทวนนิยามของสองคํานี้จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องใหม่ที่มี หรือ

                สืบค้นได้ แต่จะชี้ชวนให้พิจารณาพัฒนาการของนิยามทั้งสองคํา ดังนี้
                        ในปี 1954 Carter V. Good (Good, 1954) ได้รวบรวมศัพท์ทางการศึกษาไว้เป็น
                หมวดหมู่และนิยามคําว่า การศึกษา ไว้ 3 ลักษณะ คือ (1) การศึกษาเป็นการผสมผสานของ
                กระบวนการต่างๆ ซึ่งบุคคลใช้ในการพัฒนาความสามารถ ทัศนคติ และพฤติกรรม ตาม

                ค่านิยมที่พึงประสงค์ของสังคม (2) การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งเกิดจากอิทธิพล
                ของสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการเลือกสรรและกําหนดขึ้น เพื่อการพัฒนาสมรรถภาพทางสังคม และ
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13