Page 9 - JRISS-vol.1-no.3
P. 9

4  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

             ศักยภาพของแต่ละบุคคลให้ถึงขีดสูงสุดเท่าที่จะทําได้ และ (3) การศึกษารายวิชา หรือ
             สาขาวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา
                     และในปี 2010 Bartlett และ Burton (2010) กล่าวถึง นิยามการศึกษา ไว้ว่าเป็นคํา

             ที่นิยามได้หลายมิติ ตามกลุ่มผู้นิยาม แต่โดยทั่วไปแล้ว จะหมายถึงกระบวนการได้มาซึ่งความรู้
             และทักษะของบุคคล และผลที่ได้รับการกระบวนการดังกล่าวหลังจากกระบวนการทาง
             การศึกษาสิ้นสุดลง
                     ส่วนการเรียนรู้นั้น นักการศึกษารุ่นลายครามคือ Hilgard และ Bower (1975) นิยาม

             การเรียนรู้ไว้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อสถานการณ์ ซึ่งเกิดจาก
             ประสบการณ์ซ้ําๆ ในสถานการณ์นั้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้เกิดจากความคุ้นชิน
             หรือวัยวุฒิ หรือเกิดขึ้นระยะสั้นอันเนื่องมาจากสภาวะทางร่างกาย เช่น ความเมื่อยล้า เป็นต้น

                     และนักการศึกษาร่วมสมัยท่านหนึ่งคือ Schuck (2008) ได้นิยามคําว่า “การเรียนรู้”
             ไว้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร หรือสมรรถนะที่จะนําไปสู่การ
             เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกฝน หรือประสบการณ์ในลักษณะต่างๆ
                     ผู้เขียนนิยามการเรียนรู้ว่าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในบุคคล ในการปฏิสัมพันธ์
             และตอบสนองต่อสถานการณ์ที่บุคคลเผชิญโดยการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ การวิเคราะห์

             และการตัดสินใจของตนเองอันจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรของ
             บุคคลดังกล่าว ในด้านความรู้ ทักษะ และ/หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของตนเองและสังคม
             ส่วนการศึกษานั้นผู้เขียนนิยามว่าเป็นกระบวนการที่อํานวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของ

             บุคคล ซึ่งจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงความรู้ ทักษะ และ/หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของตน
             และ/หรือของสังคม
                     ผู้เขียนนําเสนอความหมายของ การศึกษาและการเรียนรู้ ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
             มิได้เป็นตัวแทนนิยามของ การศึกษาหรือการเรียนรู้ ที่ดีที่สุด แต่เพื่อชี้ให้เห็นว่าเราอาจจะ

             นิยามทั้งสองได้หลายแบบ ที่สําคัญคือ ผู้ที่จะนํานิยามและสังกัป (Concept) นั้นไปใช้ ต้อง
             เข้าใจนิยามดังกล่าวอย่างกระจ่างชัด และเห็นแนวทางในการนํานิยามนั้นไปสู่การปฏิบัติให้
             เกิดผลจึงจะเกิดประโยชน์ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป


             ความเข้าใจและการนําใช้นิยามการศึกษาของผู้เขียน
                     จากนิยามการศึกษาของผู้เขียน ที่กล่าวว่า “การศึกษาเป็นกระบวนการที่อํานวยความ
             สะดวกต่อการเรียนรู้ของบุคคลซึ่งจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงความรู้ ทักษะ และ/หรือ
             คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของตน และ/หรือของสังคม” ดังที่นําเสนอไปข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า

             “การศึกษา” ไม่ใช่การเรียนรู้ แต่เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ผู้เรียน
             ประสงค์อยากเรียนรู้ในกรณีที่เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย หรือผู้จัดการศึกษาประสงค์ให้ผู้เรียน
             ได้เรียนรู้ในกรณีที่เป็นการศึกษาในระบบ (โรงเรียน) หรือการศึกษานอกระบบ (โรงเรียน)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14