Page 7 - JRISS-vol.1-no.3
P. 7

2  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences :  Vol.1 No.3 October-December 2017

             new perspectives on which education should be conceptualized and applied
             to assist learners’ learning more effectively.
             Keywords: Education, Learning, Redefining Terms



             ความเป็นมาของเรื่อง
                     บ่อยครั้งที่เราพบว่านักวิชาการหรือนักการศึกษาที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับการศึกษา
             หรือการเรียนรู้ จะไม่นิยามคําทั้งสองนี้ ทั้งๆ ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้น (Ornstein,

             Levine, Gutek and Vocke 2011; Carter, Bishop and Lyman 2002; Glover and Law
             2002; Lunenburg and Ornstein, 1991) ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้เขียนเหล่านั้นมีสมมติฐาน
             ว่า ผู้ที่อ่านงานวิชาการโดยทั่วไปจะเข้าใจแนวคิดทั้งสองดีอยู่แล้ว แต่สําหรับผู้เขียนแล้วเห็นว่า

             นิยามเป็นจุดเริ่มต้นในการทําความเข้าใจและการนําใช้แนวคิดเหล่านั้นสู่การปฏิบัติ แม้ว่าเรา
             อาจจะไม่มีข้อสรุปตรงกันในนิยามเหล่านั้นก็ตาม แต่อย่างน้อยน่าจะมีจุดร่วมในการสร้าง
             วิสัยทัศน์ร่วม และเห็นเป้าหมายร่วมกันในการเดินทางสู่เป้าหมายดังกล่าว ผู้เขียนตั้งข้อสังเกต
             ว่าความเข้าใจที่แตกต่างในสิ่งที่เราจะทําร่วมกันทํา เป็นจุดเริ่มต้นของการด้อยประสิทธิภาพ
             ของการดําเนินงาน และนําไปสู่ประสิทธิผลที่ลดลงของงานที่ทํานั้น และเชื่อว่าเป็นหนึ่งใน

             ปัญหาหลักที่ทําให้คุณภาพการศึกษาของไทย และหลายประเทศทั่วโลกตกต่ํา จนกลายเป็น
             จําเลยของสังคมอยู่ในปัจจุบันก็เป็นได้
                     บางท่านอาจจะถกเถียงว่า ประเทศไทยเรากําหนดความหมายการศึกษาไว้ใน

             พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 อย่างชัดเจนแล้ว ทําไมคุณภาพการศึกษาของ
             ไทยจึงไม่ดีขึ้น ทั้งๆ ที่เราจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้มาเกือบ
             20 ปี คําถามก็คือเราเข้าใจความหมายของการศึกษาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวกันจริง
             หรือไม่ และที่สําคัญกว่านั้นคือ “เราได้ทําตามความหมายของการศึกษาดังกล่าวและอื่นๆ ที่

             กําหนดไว้หรือไม่ เพียงใด”
                     ผู้เขียนก็เคยเข้าใจความหมายของการศึกษาที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา
             ดังกล่าวคลาดเคลื่อนไปเหมือนกัน จนกระทั่งได้มีโอกาสได้ฟังคําอธิบายจากท่านศาสตราจารย์
             ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในเก้าอรหันต์ที่มีส่วนร่วมในการนิยามความหมายการศึกษา

             และยกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาดังกล่าวจึงเข้าใจ กล่าวคือพระราชบัญญัติการศึกษา
             แห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ราชกิจจานุเบกษา 2542) ได้บัญญัติความหมายการศึกษาไว้ว่า
                     “การศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
             โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง

             ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การ
             เรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต”
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12