Page 87 - JRISS_VOL1
P. 87
82 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
อาจเป็นผู้ได้รับเช็คมาโดยตรงจากผู้สั่งจ่าย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียกว่า
“ผู้รับเงิน” หรือเป็นผู้ได้รับสลักหลังโอนเช็คต่อๆมาและเป็นผู้ครอบครองเช็คไว้คนสุดท้าย
3.2 สิทธิของผู้ทรงเช็คที่จะดําเนินคดีอาญา หรือฟ้องเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงินเป็น
คดีแพ่งนั้น ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน และธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น
3.3 การออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
พ.ศ.2534 จะต้องเป็นเช็คที่ออกมาเพื่อชําระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย กล่าวคือ
เช็คจะต้องมีมูลหนี้รองรับและจะต้องเป็นหนี้ที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายด้วย หากเป็นเช็คที่
ออกมาเพื่อรองรับมูลหนี้ที่ไม่สามารถเรียกร้องหรือบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ว่าเช็คนั้นเมื่อผู้ทรง
เช็คจะนําไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารแล้วถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ย่อมไม่เป็นความผิดตาม
พระราชบัญญัติดังกล่าว
ในส่วนกฎหมายแพ่งนั้น หากผู้ทรงเช็คเป็นผู้ได้รับเช็คโดยตรงจากผู้สั่งจ่ายหรือ
ผู้รับเงิน และเป็นเช็คที่ออกมาเพื่อรองรับมูลหนี้ที่ไม่สามารถเรียกร้องหรือบังคับได้ตามกฎหมาย
แล้ว ผู้ทรงเช็คย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้สั่งจ่ายชําระหนี้ โดยถือว่าเป็นหนี้ที่ไม่ชอบด้วย
กฎหมายหรือเป็นโมฆะ ผู้ทรงเช็คย่อมไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้รับชําระหนี้นั้น
แต่หากผู้ทรงเช็คเป็นผู้ได้รับสลักหลังโอนเช็คต่อๆมาโดยสุจริตแล้ว ผู้ทรงเช็ค
คนนี้ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ที่จะได้รับ
ชําระเงินตามตั๋วเงิน ดังนั้น ผู้สั่งจ่ายจะมาอ้างว่าในขณะออกเช็คเป็นการออกเช็ครองรับหนี้ที่ไม่
ชอบด้วยกฎหมายเพื่อเป็นข้อต่อสู้ที่จะไม่รับผิดต่อผู้ทรงคนปัจจุบันไม่ได้
4. เมื่อเปรียบเทียบการดําเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้
เช็ค พ.ศ.2534 การดําเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ และการดําเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญาแล้ว พบว่า
4.1 การดําเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เนื่องจากไม่ใช่คดีแพ่งที่มีมูลหรือมีสาเหตุมาจากการ
กระทําความผิดทางอาญาตามนัยคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2533(ระบบสืบค้นคําพิพากษา
คําสั่งคําร้องและคําวินิจฉัยศาลฎีกา, ม.ป.ป.)
4.2 การดําเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ หากเป็นการเรียกร้องให้ชําระเงินไม่เกิน 300,000 บาท ก็จะอยู่