Page 89 - JRISS_VOL1
P. 89
84 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
4419/2528, 10197/2556 และ 8452/2556 (ระบบสืบค้นคําพิพากษา คําสั่งคําร้องและคํา
วินิจฉัยศาลฎีกา, ม.ป.ป.)
5. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ปัจจุบันการฟ้องคดีแพ่งเรียกให้ชําระเงินตามเช็คที่มีจํานวน
เงินเกินกว่า 300,000 บาท ไม่สามารถฟ้องรวมไปในคดีอาญาตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิด
จากการใช้เช็ค ต้องแยกดําเนินคดีออกเป็นส่วนคดีแพ่งต่างหาก ในกรณีที่ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
มีข้อเท็จจริงเดียวกัน ทําให้เป็นภาระกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ต้องดําเนินคดีในเรื่องเดียวกัน
ซ้ําซ้อนกัน ทั้งที่คู่ความและพยานหลักฐานเป็นชุดเดียวกัน อาทิเช่น ผู้ทรงเช็คในฐานะโจทก์ ผู้สั่ง
จ่ายเช็คในฐานะจําเลย พยานที่จะต้องมาเบิกความในคดี ตลอดจนศาลและเจ้าหน้าที่
กระบวนการยุติธรรมต่างๆ ที่จะต้องมาดําเนินคดีในเรื่องเดียวกันซ้ํากันสองคราว ทั้งที่ทั้งสองคดี
นี้มีข้อเท็จจริงเดียวกัน ซึ่งผลของคําพิพากษาในคดีอาญาและในคดีแพ่งอาจไม่สอดคล้องกัน
จากผลการศึกษาข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถดําเนิน
คดีอาญาตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 กับการใช้สิทธิทางแพ่งของ
ผู้ทรงเช็คที่จะเรียกร้องให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงินจากกรณีที่เช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น แบ่ง
ออกได้เป็น 3 ส่วน
1. คดีแพ่งที่ผู้ทรงเช็คเรียกร้องให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงินจากกรณีที่เช็คถูกธนาคารปฏิเสธ
การจ่ายเงิน ไม่ใช่คดีแพ่งที่มีมูลมาจากการกระทําความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก
การใช้เช็ค พ.ศ. 2534 จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น จึงไม่สามารถดําเนินคดีแพ่ง
ไปพร้อมกับคดีอาญาได้ทุกกรณี
2. พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ไม่ได้ให้อํานาจพนักงาน
อัยการดําเนินคดีส่วนแพ่งแทนผู้เสียหายได้ และไม่ได้บัญญัติให้ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องเงิน
ตามเช็คในส่วนแพ่งมาในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ได้ ดังนั้น พนักงานอัยการจึงไม่สามารถ
เรียกร้องเงินตามเช็คในส่วนแพ่งแทนผู้ทรงในฐานะผู้เสียหายได้
3. คดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นคดีที่
อยู่ในอํานาจของศาลแขวง ซึ่งศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทุนทรัพย์ไม่เกิน
300,000 บาท ดังนั้น กรณีที่ผู้ทรงเช็คฟ้องคดีส่วนแพ่งสําหรับเช็คที่มีการเรียกเงินกันเกินกว่า
300,000 บาท จะต้องแยกดําเนินคดีส่วนแพ่งออกไปที่ศาลจังหวัด ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 8
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
ซึ่งเมื่อเทียบเคียงกับการดําเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ในกรณีที่ผู้เสียหายใช้สิทธิดําเนินคดีอาญาเอง ตามมาตรา