Page 83 - JRISS_VOL1
P. 83

78  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017


            แก่ตนก็ได้ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 วรรคแรก(ห้องสมุด
            กฎหมาย, ม.ป.ป.)
                    6.6 อํานาจศาลในการพิจารณาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

                         6.6.1 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
                      ก. ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน

            เงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ทั้งนี้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา


            25(ห้องสมุดกฎหมาย, 2543)
                      ข. ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่าง

            สูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามพระ

            ธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(ห้องสมุดกฎหมาย, 2543)
                      ค. ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ใน

            อํานาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมถึงคดีที่ไม่อยู่ในอํานาจของศาลแขวง ทั้งนี้ ตามพระธรรมนูญ
            ศาลยุติธรรม มาตรา 18 [8] ดังนั้น ในคดีแพ่งที่ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องเกิน

            กว่าสามแสนบาท และคดีอาญาที่มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกินกว่า 3 ปี จะอยู่ในอํานาจ

            พิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด
                         6.6.2 ความหมายของคดีมีทุนทรัพย์

                      คดีมีทุนทรัพย์ คือ คดีที่มีคําขอเรียกร้องเงิน หรือทรัพย์สินให้มาเป็นของโจทก์ โดย
            จํานวนเงินหรือทรัพย์สินที่โจทก์ขอมาตามคําขอท้ายฟ้องถือเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้อง(จักร

            พงษ์ เล็กสกุลไชย, 2537)

                    6.7 คําพิพากษาศาลฎีกา
                      1. คดีแพ่งที่ผู้ทรงเช็คเป็นโจทก์ฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายเช็คชําระเงินตามเช็ค เป็นการฟ้องให้

            ผู้สั่งจ่ายเช็ครับผิดชดใช้เงินตามเช็คอันเป็นสิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทาง
            อาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ดังนั้น คดีแพ่งดังกล่าวจึง

            ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และจะนําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา

            46 ที่บัญญัติให้ศาลที่พิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคําพิพากษาคดีส่วน

            อาญา มาใช้บังคับไม่ได้ ทั้งนี้ ตามนัยคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2533 (ระบบสืบค้นคํา
            พิพากษา คําสั่งคําร้องและคําวินิจฉัยศาลฎีกา, ม.ป.ป.)

                      2. ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องผู้กระทําความผิดเป็นจําเลยในความผิดฐาน
            ยักยอกทรัพย์ พนักงานอัยการมีหน้าที่เรียกทรัพย์สินคืนหรือให้จําเลยชดใช้ราคาทรัพย์สินให้กับ
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88