Page 88 - JRISS_VOL1
P. 88
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 83
ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง แต่หากเป็นการเรียกร้องให้ชําระเงินเกินกว่า
300,000 บาท จะอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด
4.3 การดําเนินคดีอาญาตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534
จะต้องดําเนินคดีต่อศาลแขวง เนื่องจากมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีอัตราโทษจําคุก
ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติให้
สามารถฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ครวมมาในคดีอาญาได้ ทั้งนี้จํานวนเงินที่เรียกร้องจะต้องไม่
เกินจํานวนที่ผู้พิพากษานายเดียวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งได้ หรือเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์
ไม่เกิน 300,000 บาท ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
แต่หากเป็นคดีแพ่งที่ฟ้องเรียกเงินตามเช็คที่มีจํานวนเงินเกินกว่า 300,000
บาทแล้ว จะต้องแยกดําเนินคดีอาญาเป็นคดีหนึ่งที่ศาลแขวง และคดีแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่งที่ศาล
จังหวัด เนื่องจากศาลแขวงมีอํานาจพิพากษาพิพากษาคดีแพ่งไม่เกินอํานาจของผู้พิพากษานาย
เดียว หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ดังนั้น เมื่อใน
ส่วนคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คที่มีจํานวนเงินเกินกว่า 300,000 บาทแล้ว ศาลแขวงจึงไม่มีอํานาจ
พิจารณาพิพากษา
การใช้สิทธิฟ้องคดีส่วนแพ่ง ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เห็นว่า
ตัวบทใช้คําว่า “การฟ้องคดีแพ่ง” แสดงว่าเป็นสิทธิเฉพาะของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีส่วนแพ่ง
รวมมาในคดีอาญา ดังนั้น ในกรณีที่ผู้ทรงเช็คเลือกที่จะดําเนินคดีโดยพนักงานอัยการ พนักงาน
อัยการจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินตามเช็คให้กับผู้ทรงเช็คได้
4.4 การดําเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
ดําเนินคดีแทนผู้เสียหายนั้น กรณีที่เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 9 ฐาน ตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 พนักงานอัยการจะต้องมีคําขอส่วนแพ่งโดยมีหน้าที่จะต้อง
เรียกคืนทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย และกรณีที่เป็นคดีอาญาที่ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะ
เรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความ
เสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจาก
การกระทําความผิดของจําเลย ผู้เสียหายก็มีสิทธิยื่นคําร้องส่วนแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตาม
มาตรา 44 และแม้ว่าราคาทรัพย์ที่เรียกคืน หรือค่าเสียหายที่ทางผู้เสียหายเรียกร้องจะมีทุน
ทรัพย์เกินกว่าอํานาจของผู้พิพากษานายเดียว หรือ 300,000 บาทก็ตาม ศาลที่พิจารณาคดีส่วน
อาญาก็มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งต่อไปได้ ตามนัยคําพิพากษาศาลฎีกาที่