Page 91 - JRISS_VOL1
P. 91

86  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            บทสรุปและข้อเสนอแนะ

                    บทสรุป
                      จากการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยได้ข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วย

            ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 และการเกิดสิทธิทางแพ่งของผู้ทรงเช็คที่จะเรียกร้อง
            ให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงินจากกรณีที่เช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ตลอดจนวิธีการดําเนินคดี ดังนี้

                      1.  บุคคลที่ได้รับความเสียหายและผู้ดําเนินคดีในทางแพ่งและทางอาญาเป็นบุคคล

            คนเดียวกัน กล่าวคือ ฝ่ายผู้ทรงเช็คจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองในคดีอาญา หรือใช้สิทธิในฐานะ
            ผู้เสียหายแจ้งความดําเนินคดีอาญาแล้วให้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาล โดยผู้สั่งจ่าย

            จะเป็นฝ่ายจําเลยและในคดีแพ่งผู้ทรงเช็คจะเป็นโจทก์ฟ้องผู้สั่งจ่ายเป็นจําเลยชําระเงินตามเช็ค
                      2.  ทั้งความรับผิดทางแพ่งและความผิดทางอาญา เกิดขึ้นเมื่อผู้ทรงเช็คได้เรียกเก็บ

            เงินตามเช็คที่ผู้สั่งจ่ายได้ออกมาแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน

                      3.  การดําเนินคดีอาญาผู้ทรงเช็คมีสิทธิที่จะเลือกดําเนินคดีได้โดยเป็นผู้เสียหายฟ้อง
            คดีอาญาต่อศาล หรือจะใช้สิทธิแจ้งความร้องทุกข์แล้วให้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีให้

            แทน ซึ่งในกรณีนี้ พนักงานอัยการไม่มีหน้าที่เรียกเงินตามเช็คให้ผู้ทรงเช็คในฐานะผู้เสียหาย และ

            ผู้ทรงเช็คก็ไม่สามารถยื่นคําร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงินตามเช็คให้ผู้ทรงเช็คได้
            เนื่องจากคดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ไม่ใช่คดี

            แพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามนัยคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2533
                      4. การดําเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534

            เป็นคดีที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลแขวง เนื่องจากเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับ

            ไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนการดําเนินคดีแพ่ง ถือว่าการเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงินตามเช็คเป็นคดีมี
            ทุนทรัพย์ ซึ่งหากเรียกร้องเงินจํานวนไม่เกิน 300,000 บาทจะอยู่ในอํานาจของศาลแขวง หาก

            เกินกว่า 300,000 บาทจะอยู่ในอํานาจของศาลจังหวัด
                      5.  ในกรณีที่ผู้ทรงเช็คใช้สิทธิดําเนินคดีอาญาโดยเป็นผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาต่อศาล

            เอง และจํานวนเงินในเช็คที่ฟ้องมามีจํานวนไม่เกิน 300,000 บาท ผู้ทรงเช็คจะฟ้องคดีแพ่งรวม

            มาในคดีอาญาก็ได้ ตามความในมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งจะ
            ดําเนินคดีในศาลแขวง

                      6.  จากการที่การฟ้องคดีแพ่งเรียกให้ชําระเงินตามเช็คที่มีจํานวนเงินเกินกว่า

            300,000 บาท ไม่สามารถฟ้องรวมไปในคดีอาญาตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้
            เช็ค ต้องแยกดําเนินคดีออกเป็นส่วนคดีแพ่งต่างหาก ในกรณีที่ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญามี
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96