Page 92 - JRISS_VOL1
P. 92

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  87

               ข้อเท็จจริงเดียวกัน ทําให้เป็นภาระกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ต้องดําเนินคดีในเรื่องเดียวกัน

               ซ้ําซ้อนกัน ทั้งที่คู่ความและพยานหลักฐานเป็นชุดเดียวกัน อาทิเช่น ผู้ทรงเช็คในฐานะโจทก์ ผู้สั่ง
               จ่ายเช็คในฐานะจําเลย พยานที่จะต้องมาเบิกความในคดี ตลอดจนศาลและเจ้าหน้าที่

               กระบวนการยุติธรรมต่างๆ ที่จะต้องมาดําเนินคดีในเรื่องเดียวกันซ้ํากันสองคราว ทั้งที่ทั้งสองคดี
               นี้มีข้อเท็จจริงเดียวกัน ซึ่งผลของคําพิพากษาในคดีอาญาและในคดีแพ่งอาจไม่สอดคล้องกัน

                      ข้อเสนอแนะ

                      จากปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยจึงขอนําเสนอแนวทางปรับปรุงกฎหมายให้การดําเนินคดีแพ่ง
               เรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระเงินตามเช็ค สามารถดําเนินคดีไปในคดีเดียวกับคดีอาญาตามพ.ร.บ.ว่าด้วย

               ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ได้ โดยการแก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติแห่งมาตรา 8 ของ
               พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534ข้อความดังจะกล่าวต่อไปนี้

                      มาตรา 8 “ ในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ถ้าจํานวนเงินในเช็คที่เรียกร้องมา

               ไม่เกินกว่าอํานาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษานายเดียว การดําเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกให้ผู้สั่ง
               จ่ายชําระเงินตามเช็คที่ฟ้องมาในคดีส่วนอาญานั้น จะรวมฟ้องมาในคดีส่วนอาญาก็ได้ การ

               พิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

                      ในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ดําเนินคดีแทนผู้เสียหาย ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องต่อ
               ศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอบังคับให้จําเลยชําระเงินตามเช็คที่เรียกร้องมาให้แก่ตนก็ได้ และให้

               ศาลที่รับพิจารณาคดีส่วนอาญามีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งต่อไปได้ แม้ว่าจํานวนเงิน
               ในเช็คที่เรียกร้องมานั้นจะเกินกว่าอํานาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษานายเดียว ”



               เอกสารอ้างอิง
               กุศล บุญยืน. (2539). คําอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. สํานักพิมพ์นิติบรรณการ.

               คณิต ณ นคร. (2537). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. สํานักพิมพ์นิติธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3).
               จักรพงษ์ เล็กสกุลไชย. (2537). คําอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาคทั่วไป

                      และภาคอุทธรณ์ฎีกา. สํานักพิมพ์นิติธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1).

               ประทีป เฉลิมภัทรกุล. (2558). ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด. สํานักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตย
                      สภา (พิมพ์ครั้งที่ 9).

               ระบบสืบค้นคําพิพากษา คําสั่งคําร้องและคําวินิจฉัยศาลฎีกา. (ม.ป.ป.).

                      http://deka.supremecourt.or.th/search. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
                      สื่อสารในศาล   ฎีกา เข้าดูเมื่อวันที่ 09/01/2560
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97