Page 82 - JRISS_VOL1
P. 82

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  77

               ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ด้วย นายดําซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาก็มีสิทธิ

               ฟ้องในทางแพ่งให้นายแดงคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ได้ หรือ นาย ก ขับรถยนต์โดยประมาทชนนาย
               ข ทําให้นาย ข ได้รับอันตรายสาหัส เช่นนี้การกระทําของนาย ก เป็นความผิดอาญาฐานประมาท

               ทําให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และเป็นการละเมิดต่อนาย ข ในทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมาย
               แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ด้วย นาย ข ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาก็มีสิทธิฟ้องในทางแพ่ง


               ให้นาย ก ชดใช้ค่าเสียหายจากการประมาททําให้ตนได้รับอันตรายสาหัสได้(กุศล บุญยืน, 2539)
                         ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผู้เสียหายมีอํานาจฟ้องคดีอาญาได้เอง
               ด้วย กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายที่ฟ้องคดีอาญานั้นมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งบังคับจําเลยตาม

               สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทําผิดอาญานั้นได้ในคราวเดียวต่อศาล
               เดียวกัน แม้ว่าศาลที่พิจารณาคดีอาญานั้นจะมิใช่ศาลชําระคดีแพ่งก็ตาม โดยสิทธิเรียกร้อง

               ในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทําผิดอาญานั้นจะต้องเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยตรง

               จากการกระทําผิดอาญาจึงจะฟ้องเป็นคดีแพ่งรวมมาด้วยได้ (คณิต ณ นคร, 2537)

                          6.5.2 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                         ก. การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องคดีแพ่งต่อศาลที่มี

               อํานาจพิจารณาคดีอาญา หรือต่อศาลที่มีอํานาจพิจารณาคดีแพ่งก็ได้  ซึ่งการพิจารณาคดีในส่วน
               แพ่งไม่ว่าโจทก์จะฟ้องรวมมาในคดีอาญาหรือแยกฟ้องเป็นคดีแพ่งต่างหากนั้น การพิจารณาคดี

               แพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งนี้ ตามประมวล
               กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40(ห้องสมุดกฎหมาย, ม.ป.ป.)

                         ข. ในคดีอาญาประเภทลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก

               ฉ้อโกง ยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายเริ่มต้นคดีโดยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
               และพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีให้กับผู้เสียหายแล้วนั้น ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สิน

               หรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทําผิดคืน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
               อาญา มาตรา 43 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีหน้าที่เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย

               (ห้องสมุดกฎหมาย, ม.ป.ป.)

                         ค. ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับ
               อันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงหรือได้รับ

               ความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทําความผิดของจําเลย ถ้าผู้เสียหายเริ่มต้น

               คดีโดยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีให้กับผู้เสียหายแล้ว
               นั้น ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87