Page 90 - JRISS_VOL1
P. 90

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  85

               40 บัญญัติให้การพิจารณาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธี

               พิจารณาความแพ่ง ซึ่งต้องพิจารณาพระธรรมนูญศาลยุติธรรมด้วย ทําให้การดําเนินคดีแพ่งที่มี
               ทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ก็จะอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง แต่หากเกิน

               กว่า 300,000 บาท จะอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดเช่นเดียวกับหลักของ
               พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 แต่หากเป็นการดําเนินคดีโดยพนักงาน

               อัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และ 44/1 แล้ว จะเห็นได้ว่า

               แม้ว่าราคาทรัพย์ที่เรียกคืน หรือค่าเสียหายที่ทางผู้เสียหายเรียกร้องจะมีทุนทรัพย์เกินกว่าอํานาจ
               ของผู้พิพากษานายเดียว หรือ 300,000 บาทก็ตาม ศาลที่พิจารณาคดีส่วนอาญาก็มีอํานาจ

               พิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งต่อไปได้ ตามนัยคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2528,
               10197/2556 และ 8452/2556

                              ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นว่า ควรที่จะนําหลักการดําเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับ

               คดีอาญาของพนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และ
               44/1 และแนวคําพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น มาปรับใช้กับคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอัน

               เกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ในกรณีที่ผู้ทรงเช็คใช้สิทธิดําเนินคดีอาญาโดยพนักงานอัยการ

               ด้วย และโดยให้ผู้ทรงเช็คยื่นคําร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอบังคับให้ผู้สั่งจ่ายในฐานะ
               จําเลยชําระเงินตามเช็คที่เรียกร้องมาให้แก่ตน เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธี

               พิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 อันจะทําให้พนักงานอัยการมีอํานาจดําเนินคดีส่วนแพ่งให้กับ
               ผู้ทรงเช็คในฐานะผู้เสียหายได้ และให้มีอํานาจเรียกร้องเงินตามเช็คได้โดยไม่ต้องติดปัญหาด้าน

               ทุนทรัพย์ส่วนแพ่ง แม้ว่าจํานวนเงินในเช็คที่เรียกร้องมานั้นจะเกินกว่าอํานาจพิจารณาพิพากษา

               ของผู้พิพากษานายเดียว  แต่ในกรณีที่ผู้เสียหายใช้สิทธิฟ้องคดีอาญาเองและประสงค์ฟ้องคดีแพ่ง
               เรียกร้องเงินตามเช็คเข้ามาในคดีอาญา ยังให้คงหลักการเดิมไว้ เพื่อมิให้ขัดกับคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง

               กับคดีอาญากรณีอื่นๆ ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 ซึ่งบัญญัติให้การ
               พิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และพระ

               ธรรมนูญศาลยุติธรรม
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95