Page 84 - JRISS_VOL1
P. 84
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 79
ผู้เสียหายเป็นคําขอส่วนแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ซึ่ง
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์นั้น มีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ
ทั้งจําทั้งปรับ จึงอยู่ในอํานาจของศาลแขวง และแม้ว่าคําขอส่วนแพ่งของพนักงานอัยการจะมี
ราคาทรัพย์สินที่เรียกคืนหรือให้ชดใช้เกินกว่า 300,000 บาท ซึ่งโดยปกติแล้วจะเกินกว่าอํานาจ
พิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวง ศาลแขวงก็มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ด้วย
ทั้งนี้ ตามนัยคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2528(ระบบสืบค้นคําพิพากษา คําสั่งคําร้องและคํา
วินิจฉัยศาลฎีกา, ม.ป.ป.)
3. ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องผู้กระทําความผิดเป็นจําเลย ถ้าผู้เสียหายมี
สิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับ
ความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอัน
เนื่องมาจากการกระทําความผิดของจําเลย ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา
ขอให้บังคับจําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง กฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ผู้เสียหายซึ่งได้รับความเสียหายจากการ
กระทําความผิดของจําเลยและต้องไปดําเนินคดีในส่วนแพ่งเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทน
ดําเนินคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ต่อเนื่องกันไปได้ เพื่อให้การพิจารณา
คดีส่วนแพ่งเป็นไปโดยรวดเร็ว กรณีไม่จําต้องคํานึงว่าศาลที่จะพิจารณาคดีอาญาจะเป็นศาลที่มี
อํานาจพิจารณาคดีแพ่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2(1) และพระ
ธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) วรรคหนึ่ง และผู้เสียหายจะขอให้
บังคับจําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจํานวนเงินมากน้อยเพียงใด ดังนี้ แม้คดีอยู่ในอํานาจ
พิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวง และผู้เสียหายขอให้บังคับจําเลยชดใช้ค่า
สินไหมทดแทนซึ่งจํานวนเงินที่ขอเกินอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งของศาลชั้นต้นก็ตาม ศาล
ชั้นต้นก็มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนแพ่งได้ทั้งนี้ ตามนัยคําพิพากษาศาลฎีกาที่
10197/2556 และคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 8452/2556(ระบบสืบค้นคําพิพากษา คําสั่งคําร้อง
และคําวินิจฉัยศาลฎีกา, ม.ป.ป.)
วิธีดําเนินการวิจัย หรือวิธีการศึกษา
1. ศึกษาวิจัยจากเอกสารทางกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การใช้สิทธิของผู้ทรง
เช็คในการเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระหนี้ในทางแพ่ง และการใช้สิทธิในการดําเนินคดีอาญากับผู้สั่งจ่าย
เช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งตัวบทกฎหมาย คําพิพากษาศาลฎีกา หนังสือภาษาไทย