Page 86 - JRISS_VOL1
P. 86

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  81

                         - ความผิดสําเร็จ เมื่อผู้ทรงเช็คได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้า

               ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
               หรือจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจํา

                         - เช็คนั้นเป็นเช็คที่ออกมาเพื่อชําระหนี้ที่มีอยู่จริง หรือเป็นเช็คที่มีมูลหนี้รองรับ และ
               จะต้องเป็นหนี้ที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น หนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น หนี้ที่เกิด

               จากการพนันขันต่อ หรือ เกิดจากนิติกรรมที่เป็นโมฆะ เช่น สัญญาจ้างวานฆ่า ซึ่งถือว่าเป็นนิติ

               กรรมที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
               ประชาชน แม้จะมีการออกเช็คเพื่อชําระหนี้ดังกล่าวแล้วต่อมาเช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน

               ผู้สั่งจ่ายก็ไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
                         ส่วนการดําเนินคดีอาญาตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534

               ก็เหมือนการดําเนินคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ทั่วไป คือ ตัวผู้ทรงเช็คซึ่งถือว่าเป็น

               ผู้เสียหายจากการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จะต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อ
               พนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องคดีอาญาต่อศาล ภายในระยะเวลา 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัว

               ผู้กระทําความผิด

                      2. การฟ้องร้องเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระหนี้กรณีเช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ตามประมวล
               กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น เมื่อเช็คถึงกําหนดชําระเงินผู้ทรงเช็คจะต้องดําเนินการยื่นเช็คแก่

               ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินก่อน ตามมาตรา 990 หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินผู้ทรงเช็คจึงจะมีสิทธิ
               ที่จะเรียกร้องหรือไล่เบี้ยเอากับผู้สั่งจ่ายได้ ตามมาตรา 989 ประกอบมาตรา 914 และ 959

               (ประทีป เฉลิมภัทรกุล, 2558)

                         ส่วนการดําเนินคดีแพ่ง โดยการฟ้องร้องเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชําระหนี้กรณีเช็คถูกปฏิเสธ
               การจ่ายเงินถือว่าตัวผู้ทรงเช็ค เป็นผู้ถูกกระทบสิทธิในทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธี

               พิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ทรงเช็คจึงมีสิทธิที่จะเป็นโจทก์ฟ้อง ผู้สั่งจ่ายเช็คเป็นจําเลย
                      3. เมื่อเปรียบเทียบตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.ว่า

               ด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 กับกฎหมายส่วนแพ่งของการฟ้องร้องให้ผู้สั่งจ่าย

               ชําระหนี้กรณีเช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แล้ว พบว่ามี
               องค์ประกอบที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน ดังนี้

                         3.1 บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทํามีอยู่ 2 ฝ่าย คือ ผู้สั่งจ่ายเช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธ

               การจ่ายเงินในฐานะผู้ถูกดําเนินคดี และผู้ทรงเช็คในฐานะผู้ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ผู้ทรงเช็ค
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91