Page 56 - JRISS_VOL1
P. 56

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  51

               อําเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร

               โรงเรียนและเจ้าหน้าที่การเงินที่มีต่อสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของ
               โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาอําเภอเมืองอุบลราชธานี จําแนกตาม

               ตําแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และสอดคล้องกับงานวิจัยของ อารีย์ นิลเอก
               (2554) สภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษาสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่

               การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงบประมาณ

               แบบมุ่งเน้นผลงาน ในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี
               เขต 2 จําแนกตามตําแหน่ง ขนาดสถานศึกษา ประสบการณ์ในการทํางาน และวุฒิการศึกษา

               พบว่า ขนาดของสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตําแหน่ง
               และประสบการณ์ในการทํางาน และวุฒิการศึกษา ไม่แตกต่างกัน

                         2.2 ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพ

               การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
               มัธยมศึกษา เขต 29  โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตาม

               สมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการบริหาร

               การเงิน  ด้านการบริหารบัญชี และด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ สถานศึกษาขนาดเล็ก
               แตกต่างจากสถานศึกษาขนาดกลางและสถานศึกษาขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ

               .01 ส่วนด้านการจัดทําและเสนอของบประมาณ  ด้านการจัดสรรงบประมาณและด้านการ
               ตรวจสอบติดตามประเมินผล ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าในสภาพปัจจุบันที่มีการโอน

               งบประมาณให้สถานศึกษาเป็นผู้จัดการงบประมาณเอง ซึ่งสถานศึกษาขนาดเล็กจะได้รับ

               งบประมาณน้อยทําให้การบริหารงบประมาณง่ายไม่ยุ่งยาก แต่สถานศึกษาขนาดใหญ่มีการ
               จัดสรรงบประมาณมากทําให้การบริหารงบประมาณจะต้องทําในรูปของคณะกรรมการ มีระบบ

               ระเบียบ มีการวางแผนอย่างชัดเจน รวมทั้งในสถานศึกษาขนาดเล็ก มีบุคลากรไม่เพียงพอสําหรับ
               ขอบข่ายงานบริหารงบประมาณ จึงเป็นสาเหตุทําให้ความคิดเห็นของสถานศึกษาขนาดต่างๆ กัน

               มีความคิดเห็นแตกต่างกันสอดคล้องกับงานวิจัยของ กฤษณพงษ์ สายวรณ์ (2548 : 74) ได้ศึกษา

               การบริหารงานการเงินในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอํานาจเจริญ
               พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและเจ้าหน้าที่การเงินที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมี

               ความคิดเห็นต่อการบริหารงานการเงินในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่

               การศึกษาอํานาจเจริญ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
               สอดคล้องกับงานวิจัยของ มณเฑียร น้อยบุดดี (2549 : 80-81) สภาพและปัญหาการบริหาร
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61