Page 60 - JRISS_VOL1
P. 60

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  55

               เป็นการจัดระบบการบริหารทางการเงินขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงจําเป็นต้องมี

               มาตรฐานในการบริหารทางการเงินและควบคุมงบประมาณ
                         3.6 ด้านการบริหารบัญชี มีปัญหา คือ บุคลากรที่รับผิดชอบปฏิบัติงานไม่ตรง

               วิชาเอก (การเงิน) รวมทั้งต้องรับผิดชอบทั้งงานด้านการสอนและงานพิเศษ และระบบบัญชีไม่
               เป็นปัจจุบัน รวมทั้งการบันทึกและสรุปบัญชีเงินคงเหลือประจําวัน สถานศึกษาควรแต่งตั้ง

               บุคลากรที่ปฏิบัติงานที่มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการบัญชีมาปฏิบัติหน้าที่และส่งเสริมให้ครู

               ผู้รับผิดชอบเข้าร่วมอบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์ จัดทําเอกสาร หลักฐานทางการ
               บัญชีให้ครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน บันทึกบัญชีให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน แต่งตั้ง

               เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการรับจ่ายเงินประจําวัน รายงานฐานะทางการเงินต่อคณะกรรมการ
               สถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเขตพื้นที่การศึกษา เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ

               กรมบัญชีกลาง (2545 : 130 - 132) ที่กล่าวว่า การรายงานทางการเงินและการรายงานผลการ

               ดําเนินงานทั้งสองประเภทเป็นสิ่งจําเป็นที่ส่วนราชการต่างๆ จะต้องดําเนินการจัดทําเพื่อเป็นสิ่ง
               ยืนยันถึงผลสําเร็จของงานตามที่ทําข้อตกลงกันไว้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า จากวงเงินงบประมาณ

               ที่ได้รับ ส่วนราชการนําไปใช้จ่ายอย่างไรต้นทุนในการผลิตและการให้บริการเป็นอย่างไร รวมถึง

               การแสดงผลการดําเนินงานของงานหรือโครงการในแต่ละช่วงเวลาเป็นไปตามข้อตกลงที่ได้
               สัญญากัน ซึ่งความสําคัญของการจัดทํารายงานทางการเงิน เป็นการนําเสนอข้อมูลทางการเงิน

               เพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานขององค์กรให้แก่บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับ
               องค์กรทราบถึงผลการดําเนินงานขององค์กรว่าบรรลุวัตถุประสงค์ หรือมีความสามารถในการ

               บริหารการเงินขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มี

               ความหมายต่อการตัดสินใจของผู้ใช้รายงานทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสรร
               งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน รายงานทางการเงินจะเป็นตัวชี้วัดถึงความสามารถในการบริหาร

               การเงินของผู้บริหารองค์กรนั้นๆ ว่ามีความสามารถนําพาองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้หรือไม่
                         3.7 ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ มีปัญหา คือ บุคลากรไม่เพียงพอในการ

               ปฏิบัติงานเนื่องจากต้องรับผิดชอบทั้งงานด้านการสอนและงานพิเศษ ทะเบียนคุมวัสดุ ครุภัณฑ์

               ไม่เป็นปัจจุบัน ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วย
               ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) และการรายงานการตรวจสอบพัสดุประจําปีของสถานศึกษา

               สถานศึกษาควรแต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการพัสดุมาปฏิบัติหน้าที่ และส่งเสริม

               ให้ครูผู้รับผิดชอบเข้าร่วมอบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์ จัดทําทะเบียนคุมทรัพย์สิน
               ทุกประเภทให้ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน มีการรายงานการตรวจสอบพัสดุประจําปีต่อหน่วยงาน
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65