Page 51 - JRISS_VOL1
P. 51
46 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
2. เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จําแนกตามตําแหน่ง ประสบการณ์การทํางาน
และขนาดของสถานศึกษา
3. เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
วิธีดําเนินการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการที่ดํารงตําแหน่งผู้บริหาร
สถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ปีการศึกษา 2559 จํานวน 81 โรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหาร
สถานศึกษา จํานวน 81 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณหัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ
จํานวน 81 คน รวมทั้งสิ้น 162 คน
เครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ สภาพและปัญหาการบริหาร
งบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบเกี่ยวกับสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน สํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จํานวน 7 ด้าน คือ ด้านการจัดทํา
และเสนอของบประมาณ ด้านการจัดสรรงบประมาณ ด้านการตรวจสอบติดตาม ประเมินผล
และรายงานผลการใช้เงินและผลการดําเนินงาน ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อ
การศึกษา ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารบัญชี ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ โดย
มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89