Page 55 - JRISS_VOL1
P. 55

50  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            2 พบว่า สภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขต

            พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับ
            งานวิจัยของ จันจิรา อมรสถิตย์ (2548 : 88-91) ศึกษาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา

            ขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
            สภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการศึกษา พบว่า สภาพ

            การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากถึง

            มากที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดทําและเสนอของบประมาณ โรงเรียนมีการจัดทําแผนกลยุทธ์เพื่อขอ
            งบประมาณด้านการจัดสรรงบประมาณ โรงเรียนมีการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปีสอดคล้อง

            กับงบประมาณด้านการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผล และการรายงานผลการใช้เงิน และผล
            การดําเนินการโรงเรียนมีการตรวจสอบการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ด้านการ

            ระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา โรงเรียนมีข้อมูลของนักเรียนที่ต้องรับทุนการศึกษา

            ด้านการบริหารการเงิน โรงเรียนมีการเก็บรักษาเงินได้ถูกต้อง ด้านการบริหาร การบัญชี
            โรงเรียนมีการตรวจสอบความถูกต้องของตัวเงินตามรายงานเงินคงเหลือประจําวัน ด้านการ

            บริหารพัสดุและสินทรัพย์โรงเรียนมีการจัดซื้อจัดจ้างโดยตรวจสอบงบประมาณ รายละเอียด

            เกณฑ์ และคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ
                    2.  ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด

            สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
                      2.1 ข้าราชการครูที่มีตําแหน่งและประสบการณ์ในการทํางานต่างกันมีความคิดเห็น

            ต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

            มัธยมศึกษา เขต 29 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้
            อาจเป็นเพราะว่าผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ มีการประสานงานกันในเรื่องการ

            บริหารงบประมาณ โดยที่ผู้บริหารเป็นผู้มีหน้าที่ติดตามและสั่งการให้ผู้ปฏิบัติดําเนินการตาม
            ระเบียบปฏิบัติ ตลอดจนผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ มีการปรึกษาหารือ

            วางแผนร่วมกัน ถ้าเกิดปัญหาขึ้นก็จะร่วมมือกันแก้ไข รวมทั้ง ในการบริหารงบประมาณของ

            สถานศึกษานั้นเป็นการบริหารงบประมาณตามจํานวนนักเรียนมีนโยบาย ระเบียบแนวปฏิบัติตั้ง
            ไว้ว่ามีการจัดสรรงบประมาณอย่างไรบ้าง โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์การทํางานเลย จึง

            เป็นสาเหตุที่ทําให้ตําแหน่งและประสบการณ์ในการทํางานไม่มีผลต่อสภาพการบริหาร

            งบประมาณ  สอดคล้องกับงานวิจัยของ ประทีป เดชพันธ์ (2546 : 65) ที่ได้ทําการวิจัยเกี่ยวกับ
            สภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานการประถมศึกษา
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60