Page 61 - JRISS_VOL1
P. 61
56 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
ต้นสังกัดตามกําหนด สอดคล้องกับแนวคิดของสมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย (2543 :
5 - 7) ที่กล่าวถึง การปฏิรูประบบงบประมาณแบบใหม่ ซึ่งเน้นผลผลิต/ผลลัพธ์
(Output/Outcome) การทําบัญชีคุมวัสดุ และบัญชีคุมครุภัณฑ์ แล้วเก็บสถิติจากตัวเลขการใช้
จ่าย เพื่อนํามาวิเคราะห์ความคุ้มค่า และเปรียบเทียบการใช้จ่ายระหว่างหน่วยงานที่มีภารกิจ
เหมือนกันหรือคล้ายกัน ทั้งนี้จะทําให้การคํานวณความต้องการในการตั้งงบประมาณถูกต้องตรง
กับความจําเป็นช่วยทําให้ประหยัดงบประมาณ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นสิ่งสําคัญยิ่งต่อ
องค์กร การมีการจัดซื้อหรือจ้างที่ดี และการบริหารจัดการใช้พัสดุ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างอย่างมือ
อาชีพ จึงเป็นสิ่งจําเป็นต่อการบริหารของทุกองค์กร
ข้อเสนอแนะ
1. สถานศึกษาควรให้ความสําคัญกับการพัฒนาบุคลากรทางด้านการบริหารบัญชี
เนื่องจากผลการวิจัยพบว่ามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เช่น ส่งเสริมในด้านการอบรม สัมมนา รวมทั้งการ
สรรหาบุคลากรเพื่อบรรจุแต่งตั้งควรคํานึงถึงบุคลากรที่จบการศึกษาทางด้านการบัญชีโดยตรงใน
การปฏิบัติงาน
2. สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ข้าราชการครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน
มีส่วนร่วมในการวางแผนงบประมาณ วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความต้องการของสถานศึกษา
ตลอดจนการนําเสนอรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณของโรงเรียนต่อผู้เกี่ยวข้อง และ
สาธารณชนได้รับรู้ด้วย
3. สถานศึกษาควรมีการจัดทําข้อมูลสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ
วางแผนเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณและเปรียบเทียบข้อมูลของแต่ละปีต่อไป
เอกสารอ้างอิง
กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2545). ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน มาตรฐานการจัดการ
ทางการเงิน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กรมบัญชีกลาง. (2545). คู่มือแนวทางการปรับเปลี่ยนระบบบัญชีส่วนราชการจากเกณฑ์เงินสด
เข้าสู่เกณฑ์คงค้าง. กรุงเทพฯ: สํานักมาตรฐานด้านการเงินภาครัฐ.
กรมสามัญศึกษา. (2544). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กระทรวงการคลัง. (2545). ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: กอง
กฎหมายและระเบียบสํานักงบประมาณ กระทรวงการคลัง.