Page 57 - JRISS_VOL1
P. 57
52 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
งบประมาณ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี ผลการวิจัย
พบว่า สภาพการบริหารงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวมพบว่า ในโรงเรียนทั้ง
สามขนาดมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยโรงเรียนขนาดกลางมีสภาพการปฏิบัติมากกว่าโรงเรียน
ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ปัญหาการบริหารงบประมาณในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวม
พบว่า ในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนในโรงเรียนขนาด
กลางมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงบประมาณในโรงเรียนทั้ง
สามขนาดพบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้อง
กับ ธงชัย เปรมชนม์ (2550 : 70-71) ได้ศึกษาการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณ
ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 ผล
การศึกษาพบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ การจัดสรรงบประมาณและ
การบริหารบัญชี และมากที่สุด คือ การบริหารการเงินและการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ส่วน
โรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง คือ การจัดทําและเสนอขอ
งบประมาณ และการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา และผลการเปรียบเทียบสภาพ
การบริหารงบประมาณ พบว่า ขนาดของโรงเรียนมีสภาพการบริหารงบประมาณแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ
ทางสถิติทั้ง 7 ด้าน
3. ผลการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 พบว่า
3.1 ด้านการจัดทําและเสนอของบประมาณ มีปัญหา คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและความต้องการของสถานศึกษา และรายละเอียดในการจัดทํา
แผนงบประมาณ แผนงาน งาน โครงการ ที่เชื่อมโยงกับผลผลิตและผลลัพธ์ ตามตัวชี้วัด
ความสําเร็จของสถานศึกษายังไม่ชัดเจน ดังนั้น สถานศึกษาควรประชุมคณะกรรมการ
สถานศึกษา คณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะครู เพื่อศึกษา วิเคราะห์นโยบายทางการศึกษา
ร่วมกัน จัดอบรมการทําแผนกลยุทธ์ แผนงาน/โครงการแก่บุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจและ
ดําเนินการจัดทํารายละเอียดแผนงบประมาณ แผนงาน/โครงการ ให้มีความเชื่อมโยงสอดคล้อง
กับยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานเขตพื้นที่และสถานศึกษา สอดคล้องกับแนวคิด
ของ กรมการศึกษานอกโรงเรียน (2545: 9 - 10) ที่กล่าวถึง การวางแผนกลยุทธ์ ว่าเป็นการ
วางแผนที่คํานึงถึงศักยภาพและผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายในที่มีต่อหน่วยงานและ