Page 52 - JRISS_VOL1
P. 52
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 47
ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open-Ended Questionnaire)
เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ
2. วิเคราะห์การปฏิบัติการตามสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน สํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
3. วิเคราะห์เปรียบเทียบการปฏิบัติการตามสภาพการบริหารงบประมาณของ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จําแนกตาม ตําแหน่ง
ประสบการณ์ในการทํางาน โดยการทดสอบค่า t ขนาดของสถานศึกษาโดยการทดสอบค่า F
และเมื่อพบความแตกต่างทําการทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีการของ Scheffe’
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบค่า t การทดสอบค่า F และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
สรุปผลการวิจัย
1. สภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ทั้ง 7 ด้าน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาราย
ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดทําและเสนอของบประมาณ รองลงมา คือ ด้าน
การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการ
บริหารบัญชี
2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ทั้ง 7 ด้าน พบว่า ข้าราชการครูที่มีตําแหน่ง
และประสบการณ์ในการทํางานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงบประมาณของ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 โดยรวมและราย
ด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็น
ต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 29 โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยในด้านการ
ระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา, ด้านการบริหารการเงิน, ด้านการบริหารบัญชีและ