Page 59 - JRISS_VOL1
P. 59
54 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
ปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณจะไปลดบทบาท และอํานาจของหน่วยงานกลางในการควบคุมการ
ดําเนินงานของส่วนราชการ อย่างไรก็ตามการจัดงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานจะทําให้เกิด
อิสระในการบริหารงบประมาณมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทําให้เกิดช่องโหว่ในการใช้งบประมาณ
อย่างไม่มีประสิทธิภาพได้
3.4 ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา มีปัญหา คือ การมีส่วน
ร่วมของทุกภาคส่วนในการวิเคราะห์แหล่งทรัพยากรและการจัดทําแผนระดมทรัพยากรของ
สถานศึกษา และการมีส่วนร่วมในการพิจารณาทุนสําหรับนักเรียน สถานศึกษาควรแต่งตั้ง
คณะกรรมการเพื่อจัดทําแผนระดมทรัพยากรทั้งระยะสั้นและระยะยาว คณะกรรมการคัดเลือก
นักเรียนเพื่อพิจารณาให้กู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษาดําเนินการด้วยความยุติธรรม ละเอียด
รอบคอบ และมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ
(2544 : 1 - 3) ที่สรุปว่า ระบบการวางแผนกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ จะต้องมีการกําหนด
พันธกิจ ภารกิจหลักของหน่วยงานและผลลัพธ์ที่คาดหวังว่าจะให้เกิดขึ้นจากผลผลิตที่ได้วางแผน
ไว้ทั้งในแง่ปริมาณงาน เวลา คุณภาพและต้นทุน พร้อมทั้งกําหนดวัตถุประสงค์และวิธีการในการ
บรรลุถึงวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนในขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์เพื่อจะเป็นกรอบในการกําหนด
พันธสัญญาระหว่างหน่วยปฏิบัติ (ผู้ใช้เงินเพื่อให้ได้มาซึ่งผลงาน) และหน่วยงานผู้ดูแลทรัพยากร
ของชาติ (แทนประชาชน) นอกจากนั้นในระบบการวางแผนที่ดีจะต้องมีกระบวนการจัดลําดับ
ความสําคัญในแต่ละระดับ ตั้งแต่กลยุทธ์แผนงาน งาน/โครงการ กิจกรรม ผลผลิตและผลลัพธ์
เพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการตัดสินใจในการบริหารงานและการจัดสรรทรัพยากร
3.5 ด้านการบริหารการเงิน มีปัญหา คือ บุคลากรที่รับผิดชอบปฏิบัติงานไม่ตรง
วิชาเอก (การเงิน) รวมทั้งต้องรับผิดชอบทั้งงานด้านการสอนและงานพิเศษ ไม่มีระบบฐานข้อมูล
สําหรับการบริหารทางการเงินและควบคุมงบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณที่ไม่ตรงตาม
แผนงาน/โครงการ สถานศึกษาควรแต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจด้านการบริหาร
การเงินมาปฏิบัติงานและส่งเสริมให้ครูผู้รับผิดชอบเข้าร่วมอบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มเติม
ประสบการณ์ มีการบริหารงบประมาณภายในวงเงินของแผนงานที่กําหนดไว้ในแผนงาน/
โครงการ ดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ แนวปฏิบัติด้านการบริหารการเงินให้ถูกต้อง เพื่อให้
เกิดความคล่องตัวในการบริหารการเงิน กรมสามัญศึกษา (2544 : 20) ที่กล่าวว่า การบริหารทาง
การเงินและควบคุมงบประมาณ เป็นเครื่องมือที่จําเป็นสําหรับการประกันว่าความคล่องตัวทาง
การงบประมาณที่จะมอบให้หน่วยงานต่างๆ มากขึ้น จะไม่นําไปสู่การใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่
ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดําเนินงาน หรือถ้าจะอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ