Page 48 - JRISS_VOL1
P. 48

Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017  43

               in individual aspects revealed that they were statistically different at .01 level of

               significance in 4 aspects and not different in 3 aspects.
                          3. The important problems concerning the budget administration were

               no communal participation in planning the programs and projects, scheduling to
               use the budget, and evaluating. The important suggestions on how to improve the

               budget administration were organizing the meetings on understanding of the

               budget administration, and holding a training on budget planning in details.
               Keywords: States of Budget Administration in Basic Education Schools, Office of

               Secondary School Area 29


               บทนํา

                      การปฏิรูปการศึกษาของไทยเกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่ง
               ราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2540 มาตราที่ 29 และ 50 โดยให้ตราพระราชบัญญัติ

               การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในหมวดที่ 5 การบริหารและการจัดการศึกษา มีสาระสําคัญ

               เกี่ยวกับการปฏิรูประบบบริหารและการจัดการศึกษา การพัฒนาสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการ
               ปฏิรูปการศึกษา จะประกอบด้วยการปฏิรูปกระบวนการ 4 กระบวนการ ได้แก่ การปฏิรูปการ

               บริหารและการจัดการ การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
               และการประกันคุณภาพทางการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542) พระราชบัญญัติการศึกษา

               แห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มีการจัดระบบโครงสร้างและ

               กระบวนการการจัดการศึกษาของไทยมีเอกภาพเชิงนโยบาย และมีความหลากหลายในทาง
               ปฏิบัติมีการกระจายอํานาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ดังปรากฏในบทบัญญัติ

               มาตรา 39 กําหนดให้กระทรวงกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ
               งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสํานักงานเขต

               พื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546 ข :

               6)  ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้มีนโยบายมุ่งเน้นให้มีการกระจายอํานาจการบริหารและการ
               จัดการศึกษาไปสู่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ

               สถานศึกษา และจัดระบบการกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 4

               ด้าน คือ ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป (สํานักงาน
               คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2550 : 21) ซึ่งทางรัฐบาลได้สนับสนุนอย่างเพียงพอทั้ง
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53