Page 49 - JRISS_VOL1
P. 49

44  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            ทางด้านงบประมาณและบุคลากรที่ให้ความรู้แก่สถานศึกษา แต่งานบริหารงบประมาณและ

            การเงินนั้นมีความสําคัญเพราะเป็นงานที่ส่งเสริมกิจการงานต่างๆ ให้สถานศึกษาสามารถ
            ดําเนินงานได้ลุล่วงไปด้วยดีอีกทั้งมีกฎหมายแพ่งเข้ามาเกี่ยวข้อง หากมีการกระทําผิดระเบียบ จึง

            ต้องมีรูปแบบการบริหารจัดการที่เป็นระบบถูกต้อง โดยปริมาณของงบประมาณที่สถานศึกษา
            ได้รับนั้นจะแปรผันตามสัดส่วน ขนาดและปริมาณงานในโรงเรียน

                    จากการกระจายอํานาจตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ดังกล่าว

            ซึ่งทําให้สถานศึกษาสามารถบริหารตนเองได้อย่างอิสระ แต่ก็เป็นภาระหนักของผู้บริหาร เพราะ
            การกระจายอํานาจเป็นการกระจายทั้งภารกิจและความรับผิดชอบ ทั้งในด้านวิชาการ

            งบประมาณ การบริหารงานบุคลากรและ การบริหารทั่วไปในการกระจายอํานาจในการบริหาร
            งบประมาณให้สถานศึกษา ถือเป็นภารกิจที่สําคัญภารกิจหนึ่งของผู้บริหาร จากที่ผ่านมาผู้บริหาร

            โรงเรียนไม่ได้บริหารงบประมาณเอง เพราะกรม ต้นสังกัดจะเป็นฝ่ายตัดสินใจ และบริหารจัดการ

            งบประมาณเกือบทั้งหมด จะมอบหมายให้โรงเรียนดําเนินการในส่วนงบประมาณค่าวัสดุเพียง
            เล็กน้อยเท่านั้น ปัจจุบันโรงเรียนมีบทบาทในการบริหารงบประมาณด้วยตนเอง ตามขอบเขต

            ภารกิจงาน ได้แก่ 1) การจัดทําและเสนอของบประมาณ 2) การจัดสรรงบประมาณ 3) การ

            ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและ ผลการดําเนินงาน 4) การระดม
            ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 5) การบริหารงานการเงิน 6) การบริหารบัญชี 7) การ

            บริหารพัสดุและสินทรัพย์ ซึ่งลักษณะการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในปัจจุบัน
            กําหนดให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหน่วยงบประมาณและหน่วยบริหารการเงินโดย

            สถานศึกษาสามารถกําหนดความต้องการและเสนอของบประมาณผ่านสํานักงานเขตพื้นที่

            การศึกษา งบประมาณที่ได้รับจัดสรรอยู่ในรูปของเงินก้อน ที่สถานศึกษามีอํานาจในการบริหาร
            ตามกรอบงบประมาณที่ได้รับ การบริหารระบบใหม่ จะเน้นการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

            ของงานหรือมุ่งเน้นผลงาน ส่วนระบบงบประมาณก็จะเป็นแบบมุ่งเน้นผลงานที่ลดการควบคุม
            รายละเอียดจากส่วนกลาง เพื่อให้หน่วยงานมีความอิสระและความคล่องตัวในการบริหารให้

            บรรลุตามแผนที่กําหนดไว้ และเพื่อให้การบริหารงบประมาณมีความสอดคล้องกับระบบและ

            วิธีการ กับระบบและวิธีการงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์มีผลสําเร็จตามภารกิจที่
            กําหนดและรับผิดชอบต่อการใช้จ่ายงบประมาณ โดยมีแผนกลยุทธ์ แผนการปฏิบัติงาน และ

            แผนการใช้จ่ายงบประมาณ และการติดตาม รายงานผล เป็นเครื่องมือกํากับดูแลการดําเนินงาน

            และการใช้จ่ายงบประมาณภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ความโปร่งใสและสามารถเปิดเผยต่อ
            สาธารณชนได้ (กระทรวงการคลัง, 2546 : 1)
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54