Page 41 - JRISS_VOL1
P. 41

36  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            อภิปรายผลการวิจัย

                    1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนที่มีต่อภาวะผู้นําของผู้บริหาร
            สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จําแนกตาม

            ตําแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา พบว่า ภาวะผู้นําของผู้บริหาร
            สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับ บุษยพรรณ

            พรหมวาทย์ (2558 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้การเปลี่ยนแปลง

            สถานศึกษา กับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนขยายโอกาสทาง
            การศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 พบว่า ภาวะผู้นําการ

            เปลี่ยนแปลงผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่
            การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ทั้ง 6 ด้าน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  อีกทั้ง

            เพ็ญประภา ธรรมบุตร (2556 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร

            สถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
            ประถมศึกษายโสธร เขต 1 พบว่า ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มีระดับ

            ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง โดยรวมอยู่ในระดับมาก

                    2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
            สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 พบว่าผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน

            มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 แตกต่างกัน ดังนี้
                      2.1 เมื่อพิจารณาตามตําแหน่ง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนซึ่งมี

            ตําแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัด

            สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่
            เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะที่ดีในการบริหาร

            สถานศึกษา ย่อมจะทําให้สถานศึกษานั้นประสบผลสําเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
            อย่างมีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ มัทนา ศรีโยธา (2550 : 140) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นํา

            ของผู้บริหารสตรีตามการรับรู้ของผู้บริหาร และครูผู้สอนของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่

            การศึกษาในจังหวัดสกลนคร พบว่า ภาวะผู้นําแบบแลกเปลี่ยนโดยรวมไม่แตกต่างกัน และ
            สอดคล้องกับ อุเทน  โรมพันธ์ (2552:ง-จ) ได้ศึกษาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานคุณภาพ

            การศึกษาด้านภาวะผู้นํา และความสามารถของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่

            การศึกษายโสธร เขต 1 พบว่า ข้าราชการครู ในสถานศึกษาที่มีตําแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็น
            ต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาด้านภาวะผู้นําและความสามารถของผู้บริหาร
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46