Page 37 - JRISS_VOL1
P. 37

32  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            ตามขั้นตอนดังนี้ กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan (อ้างถึงใน นคร

            เสรีรักษ์ และภรณี ดีราษฎร์วิเศษ, 2555 : 52-53) จํานวน 458 คน  โดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ
            เพื่อให้ได้ตามจํานวนที่ต้องการในกลุ่มตัวอย่าง

                    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นําของ
            ผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29

            แบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เช่น

            ตําแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา มีลักษณะคําถามเป็นแบบ
            ตรวจสอบรายการ (Checklist) ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นําของ

            ผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ใน
            ขอบข่ายภาวะผู้นําในศตวรรษที่ 21 จํานวน 10 ด้าน คือ ด้านความเป็นผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ ด้านใน

            การกําหนดนโยบายและการปกครอง ด้านการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ด้านการ

            บริหารจัดการองค์กร ด้านการวางแผนและการพัฒนาหลักสูตร ด้านการเรียนรู้ ด้านการ
            ประเมินผลงานและการบริหารบุคลากร ด้านการบริหารจัดการบุคคล ด้านการวิจัยทาง

            การศึกษาการประเมินผลและการวางแผน และด้านค่านิยมและจริยธรรมของการเป็นผู้นํา มี

            ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ตามวิธีการของ บุญชม ศรี
            สะอาด, 2545 : 103) และตอนที่ 3 เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา

            ในศตวรรษที่ 21 ในขอบข่าย 10 ด้าน คือ ด้านความเป็นผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ ด้านในการกําหนด
            นโยบายและการปกครอง ด้านการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ด้านการบริหาร

            จัดการองค์กร ด้านการวางแผนและการพัฒนาหลักสูตร ด้านการเรียนรู้ ด้านการประเมินผลงาน

            และการบริหารบุคลากร ด้านการบริหารจัดการบุคคล ด้านการวิจัยทางการศึกษาการ
            ประเมินผลและการวางแผน และด้านค่านิยมและจริยธรรมของการเป็นผู้นํา

                    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1) สถิติที่ใช้ในการบรรยายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง
            ประกอบด้วย ค่าร้อยละ (Percentage) ใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 101) ค่าเฉลี่ย, ส่วน

            เบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเพื่อการเปรียบเทียบใช้การทดสอบค่า (t-test) ใช้สูตรเมื่อกลุ่ม

            ตัวอย่างที่เปรียบเทียบไม่เกิน 2 กลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยใช้เปรียบเทียบของตัวแปรตําแหน่ง และ
            ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การทดสอบค่า F- test ใช้สูตรเมื่อมีกลุ่มตัวอย่างที่เปรียบเทียบ

            มากกว่า 2 กลุ่มซึ่งผู้วิจัยใช้เปรียบเทียบของตัวแปร ขนาดของโรงเรียน 3) สถิติที่ใช้ในการ

            บรรยายพรรณนา  4) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ หาค่าความเชื่อมั่นของ
            แบบสอบถามทั้งฉบับ ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของ Cronbach  (Coefficient
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42