Page 35 - JRISS_VOL1
P. 35

30  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            คุณลักษณะที่ควรต้องมี เพิ่มเติมจากคุณสมบัติที่ดีที่มีอยู่แบบดั้งเดิม เช่น ความเห็นอกเห็นใจ

            ความศรัทธา ความผูกพัน และอื่นๆ นอกจากนั้นแล้ว ลักษณะส่วนบุคคลสําหรับผู้นําในยุค
            ดิจิตอล ยังประกอบด้วย ความยืดหยุ่น ความสามารถในการปรับตัว ความอยากรู้อยากเห็นทาง

            ปัญญา และความกระหายใคร่รู้ต่อความรู้ใหม่ ซึ่งต้องเข้าใจว่า ภาวะผู้นําในยุคดิจิตอลนั้น ไม่ใช่
            สิ่งที่คงที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (วิโรจน์ สารรัตนะ, 2557)

                    อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาองค์การประสบความสําเร็จ ไม่ว่าจะเป็น

            องค์การภาครัฐ หรือภาคเอกชนย่อมขึ้นอยู่กับผู้นํา (Leader) ผู้นํามีความสําคัญในการสร้าง
            ความสําเร็จให้กับองค์การ โดยมีภาวะผู้นํา (Leadership) เป็นกุญแจสําคัญในการกําหนด

            ความสําเร็จหรือความล้มเหลวให้กับองค์การ ซึ่งความสําเร็จขององค์การมิได้ขึ้นอยู่กับ
            กระบวนการ วัฒนธรรม เทคโนโลยี เทคนิค และการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ แต่เป็นบทบาท

            ของบรรดาผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ และมีพลังที่จะกําหนดอนาคตของตนเองได้  Tichy and Cohen

            (1997, อ้างถึงใน จันทกานติ์  ตันเจริญพานิช และ นิตยา เงินประเสริฐศรี 2550 : 82-83)  และค
            รอเฟิร์ด (Crawford) ได้กล่าวถึง ทักษะเพื่อความสําเร็จของผู้นําสถานศึกษาศตวรรษที่ 21 ว่า

            ในปี 2010 ได้มีความเห็นที่สอดคล้องกันของผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายทางการศึกษาว่าคุณภาพ

            ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นปัจจัยสําคัญต่อความสําเร็จหรือความล้มเหลวของ
            สถานศึกษา และดังที่ Linda Darling-Hammond นักการศึกษาแห่ง Stanford University ได้

            กล่าวว่า “ผู้บริหารที่มีความสามารถไม่ได้มีมาแต่เกิดแต่สามารถพัฒนาขึ้นได้” (high-
            performing principals are not just born, but can be made) ซึ่งต้องอาศัยการฝึกอบรม

            หรือการพัฒนาในทักษะที่สําคัญ (วิโรจน์ สารรัตนะ, 2556 : 75-76)  ซึ่งสอดคล้องกับประสิทธิ์

            เขียวศรี (2543 อ้างถึงใน พิมพ์ฐดา วัจนวงศ์ปัญญา และคณะ, 2556 : 209) ที่กล่าวว่าจาก
            การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาการศึกษา การพัฒนาการบริหาร

            การศึกษา และการพัฒนาองค์กรการศึกษา ทําให้ทราบว่าหน่วยงานทางการศึกษามีบทบาทใน
            การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมาก และสามารถส่งผลกระทบต่อความสําเร็จในการพัฒนา

            ประเทศในทุกๆ ด้าน องค์กรหรือหน่วยงานทั้งปวงย่อมจะต้องมีผู้บริหารสูงสุดทําหน้าที่

            รับผิดชอบหน่วยงานนั้น
                    จากความสําคัญของการก้าวเข้าสู่โลกในศตวรรษที่ 21 ทําให้ผู้วิจัยซึ่งเป็นข้าราชการครู

            ในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 เห็นความสําคัญ และตระหนักถึง

            ทักษะผู้นําในศตวรรษที่ 21 ที่มีความสําคัญต่อการพัฒนา และการบริหารการศึกษาให้มี
            ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล  ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาใน
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40