Page 25 - JRISS_VOL1
P. 25
20 Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017
2. ปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ในภาพรวม และรายด้านมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย โดยมีการ
ปฏิบัติในด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก รองลงมา คือ ด้านการ
สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก และต่ําที่สุดคือ ด้านการประเมินพัฒนาการและ
การเรียนรู้ของเด็ก และด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวของเด็ก
3. เมื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สังกัด
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จําแนกตามตําแหน่ง ระดับ
การศึกษา ประสบการณ์ในการทํางาน และขนาดโรงเรียน พบว่า
3.1 ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนปฐมวัย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพ
และปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
อุบลราชธานี เขต 3 โดยภาพรวม และรายด้าน มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทาง
สถิติที่ระดับ .01
3.2 ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนปฐมวัยที่จบการศึกษาปริญญาตรี และสูง
กว่าปริญญาตรีโดยภาพรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นต่อสภาพและปัญหาการจัดการศึกษา
ปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยภาพรวม
และรายด้าน มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จําแนกตามประสบการณ์ในการทํางานโดยรวม และ
รายด้าน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน โดยผู้มีประสบการณ์ในการทํางาน 10 – 20 ปี กับ มากกว่า
20 ปีขึ้นไป และที่มีประสบการณ์ในการทํางานต่ํากว่า 10 ปี และ 10 - 20 ปี มีความคิดเห็น
เกี่ยวกับสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.4 ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนปฐมวัยที่ทํางานในสถานศึกษาต่างกันมี
ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
4. ปัญหาและแนวทางพัฒนาของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนปฐมวัยสามารถ
สรุปได้ดังนี้
ประเด็นปัญหา คือ โรงเรียนไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ความชํานาญในการวิเคราะห์
หลักสูตร ครูผู้สอนเน้นการจัดสภาพแวดล้อมเฉพาะในห้องเรียน โดยไม่สนใจสภาพแวดล้อม