Page 24 - JRISS_VOL1
P. 24
Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017 19
4. ดําเนินการเลือกกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนปฐมวัย
จํานวน 5 โรงเรียนๆ ละ 2 คน รวม 10 คน โดยโรงเรียนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจาก
โรงเรียนประถมศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประเมินภายนอก ซึ่งเป็นที่ยอมรับ และดีเด่นในระดับเขต
พื้นที่การศึกษาได้แก่ โรงเรียนบ้านโดนอาว สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ
เขต 4 โรงเรียนอนุบาลพิบูลมังสาหารวิภาคย์วิทยาคาร โรงเรียนบ้านหนองเม็ก อําเภอสิรินธร
โรงเรียนบ้านด่าน อําเภอโขงเจียม และโรงเรียนบ้านโคกเที่ยง อําเภอสิรินธร สํานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 แล้วดําเนินการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ที่สร้าง
ขึ้น
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้ค่าความถี่ และค่าร้อยละ
2. วิเคราะห์สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3. วิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จําแนกตาม เพศ อายุ
สถานภาพ และวุฒิการศึกษา โดยใช้การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F
4. วิเคราะห์การสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการจัดการศึกษา
ปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยวิธีการ
วิเคราะห์เชิงเนื้อหา
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F
สรุปผลการวิจัย
ผลจากการศึกษาสภาพ และปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 พบว่า
1. สภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ในภาพรวม และรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมี
การปฏิบัติในด้านการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสมมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการบูรณาการเรียนรู้
และต่ําที่สุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก