Page 29 - JRISS_VOL1
P. 29

24  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            มงคล  กุลเกลี้ยง (2548 : บทคัดย่อ) ได้ทําการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพและปัญหาการจัด

            การศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด
            อุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่า เมื่อจําแนกตามประสบการณ์ในการทํางาน พบว่า ผู้บริหาร

            โรงเรียนและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทํางานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัด
            การศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ

            0.1 โดยผู้มีประสบการณ์ในการทํางานต่ํากว่า 5 ปี กับผู้มีประสบการณ์ในการทํางาน 5-10 ปี

            และผู้มีประสบการณ์ในการทํางานต่ํากว่า 5 ปี กับ ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี มีความ
            คิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ

                      3.4 ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนปฐมวัย ที่ทํางานในสถานศึกษาต่างกันมีความ
            คิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่

            การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้เป็นเพราะ

            ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนปฐมวัยที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็น
            ต่อสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัย แตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย

            ของ  ภคมน โถปลาบุษราคัม (2555 : บทคัดย่อ) ได้ทําการวิจัยเรื่อง ปัญหาการจัดการศึกษา

            ปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการจัด
            การศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง โดยภาพรวมและรายด้าน

            อยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนคร
            ระยอง จังหวัดระยอง จําแนกตามขนาดของโรงเรียน  โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน



            ข้อเสนอแนะ
                    ข้อเสนอแนะสําหรับการนําผลการวิจัยไปใช้

                      จากผลการวิจัย สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สํานักงาน
            เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3  ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

                      1.  จากผลการศึกษาพบว่า สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน

            สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 มีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับ
            มาก และปัญหาน้อย ทั้งภาพรวม และรายด้าน ผู้บริหารจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและ

            แก้ไขข้อบกพร่องในการจัดการศึกษาปฐมวัยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม หน่วยงานที่

            รับผิดชอบในการพัฒนาบุคลากรควรกําหนดกฏเกณฑ์การคัดเลือกบุคลากรเพื่อรับผิดชอบการ
            ปฏิบัติตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานต่อไป
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34