Page 21 - JRISS_VOL1
P. 21

16  Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.1 No.1 April-June 2017

            ความรู้ ความสามารถอ่อนลงเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศทั้งในด้านกระบวนการผลิต ความรู้

            ทางวิชาการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
            2540 : 16) และจากการศึกษาวิจัยสภาพและปัญหาการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาที่เปิด

            สอนระดับก่อนประถมศึกษา พบว่าปัญหาขาดครูสาขาปฐมวัย ขาดเอกสารประกอบหลักสูตร
            เพื่อการค้นคว้า งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดวัสดุในการผลิตสื่อ ขาดสถานที่เล่นของเด็ก ห้องน้ํา

            ห้องส้วมไม่เป็นสัดส่วน ชุมชนไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะร่วมกําหนดวัตถุประสงค์ ครู

            ขาดความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งจากปัญหาที่ผ่านมาสถานศึกษาจะต้องหาแนวทางใน
            การแก้ไขเพื่อที่จะทําให้การจัดการศึกษาปฐมวัยมีคุณภาพ (มงคล  กุลเกลี้ยง 2548 : 25)

                    เด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่า เป็นที่รักและความหวังอันสูงสุดของพ่อแม่ เป็นอนาคตของ
            ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ การที่เด็กจะเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์เป็นผู้ใหญ่ที่มี

            คุณภาพและเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศนั้นจําเป็นจะต้องได้รับการตอบสนองความ

            ต้องการพื้นฐาน เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย การพักผ่อน การบริการทางการแพทย์ ความรักความ
            อบอุ่นจากบิดามารดา ซึ่งในช่วง 6 ปีแรกของเด็กเป็นวัยที่สําคัญที่สุดเป็นช่วงที่มีการพัฒนาทุก

            ด้าน อย่างรวดเร็ว เด็กจึงควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคม

            อารมณ์และจิตใจอย่างเต็มที่และเหมาะสม การจัดการศึกษาปฐมวัยจึงมีความสําคัญยิ่งเพราะ
            เป็นการให้การศึกษาเบื้องต้นที่มีความสําคัญต่อชีวิตในอนาคตของเด็ก  เป็นการศึกษากึ่งการ

            อบรมเลี้ยงดูเพื่อให้ถูกตามหลักการพัฒนาตามวัย ทั้งยังช่วยปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยม ลักษณะ
            นิสัยและวัฒนธรรมอันเป็นพื้นฐานที่จะทําให้เด็กมีชีวิตที่สมบูรณ์ขึ้น เมื่อเด็กได้รับการดูแลที่ดี

            ได้รับความรักความอบอุ่นจะทําให้เด็กเป็นคนสดชื่นแจ่มใส มองโลกในแง่ดี รู้จักรักคนอื่น ดังนั้น

            เด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยทองของชีวิต (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2551:18) จากความสําคัญ
            ของเด็กดังกล่าว จึงจําเป็นต้องจัดการศึกษาให้ตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งการจัดการศึกษาปฐมวัยในสังคม

            โลกเป็นการจัดเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้สามารถเสริมสร้างพลังความสามารถของแต่ละ
            บุคคลที่มีอยู่ในตนเอง ให้เจริญเติบโตอย่างเต็มขีดความสามารถ และนําศักยภาพมาพัฒนาตน

            และสังคมได้เหมาะสมกับความสามารถแห่งตน (กรมวิชาการ 2541 : 45)

                    การศึกษาปฐมวัยเป็นการเตรียมความพร้อมของเด็กให้มีพัฒนาการทุกด้าน พร้อมจะรับ
            การเรียนรู้ให้ทันกับความเจริญของเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วของสังคมโลก แนวโน้มการ

            จัดการศึกษาปฐมวัยของไทยในปัจจุบันได้ลดความเคร่งครัดในกรอบเนื้อหาวิชา ทุกฝ่ายใน

            สังคมไทยเริ่มปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ให้เน้นคุณภาพของคนในการใช้ชีวิตจริงที่ราบรื่นและอยู่ใน
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26